เผยแพร่ผลงาน การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เทคนิค ATLAS
การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้เทคนิค ATLAS รายวิชา กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของพืช ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางน้ำทิพย์ ศรีแก้ว
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
ปีที่พิมพ์ ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชมีดอกร่วมกับการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้เทคนิค ATLAS รายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของพืช ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชมีดอกร่วมกับการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้เทคนิค ATLAS รายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของพืช ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชมีดอก ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้เทคนิค ATLAS รายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของพืช ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชมีดอก ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้เทคนิค ATLAS รายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของพืช ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 48 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชมีดอก จำนวน 6 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้เทคนิค ATLAS จำนวน 6 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.400-0.700 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.333-0.733 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.914 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชมีดอก ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้เทคนิค ATLAS แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติที แบบ Dependent Samples t-test
ผลการศึกษา พบว่า
1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชมีดอก ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้เทคนิค ATLAS รายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของพืช ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.98/87.85 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2) ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชมีดอก ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้เทคนิค ATLAS รายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของพืช ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้น มีค่าเท่ากับ 0.8264 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 82.64
3) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชมีดอก ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้เทคนิค ATLAS รายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของพืช ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย ที่เรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชมีดอก ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้เทคนิค ATLAS รายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของพืช มีความพึงพอใจโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 (S = 0.22)