การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก
สามารถในการคิดวิเคราะห์และความพอเพียง เรื่อง ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
ในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นายไพฑูรย์ รัตนานุxxxล ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลวัดนิโครธาราม สังกัดเทศบาลเมืองพัทลุง
อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
ปีพุทธศักราช 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เพื่อส่งเสริมความ สามารถในการคิดวิเคราะห์และความพอเพียง เรื่อง ความสัมพันธ์ ทางเศรษฐกิจในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความพอเพียง เรื่อง ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในชีวิตประ จำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความพอเพียง เรื่อง ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความพอเพียง เรื่อง ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถม- ศึกษาปีที่ 6
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดนิโคร- ธาราม สังกัดเทศบาลเมืองพัทลุง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการ ศึกษา 2560 จำนวน 30 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก จำนวน 7 กิจกรรม 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เรื่อง ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ในชีวิตประ จำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 7 แผน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 5) แบบวัดและประเมินความพอเพียง จำนวน 10 ข้อ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เรื่อง ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถม -ศึกษาปีที่ 6 แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scaie) ชนิด 5 ระดับของ Likert แบ่งเป็น 3 ด้านๆละ 4 ข้อ จำนวน 12 ข้อ 7)สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน/หลังเรียน และการทดสอบค่าสถิติ t-test
ผลจากการวิจัย พบว่า
1. จากการสัมภาษณ์สภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอนของครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพัทลุงทั้ง 4 โรงเรียน จำนวน 9 ท่าน พบว่า นักเรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาของสาระการเรียนรู้ที่ 3 เศรษฐศาสตร์ แต่ไม่สามารถคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. ผลการพัฒนาชุดการเรียนแบบร่วมมือจากสื่อในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและจิตสาธารณะ เรื่อง พุทธธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ(E1/E2) เท่ากับ 89.86 / 91.25 ซึ่งมีประสิทธิภาพ สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 เป็นไปตามสมมุติฐาน
3. ผลการใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์และความพอเพียง เรื่อง ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความพอเพียง เรื่อง ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถม-ศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71 S.D. = 0.14)