รายงานการพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้วิธีการสอนตามแนวทฤษฏีสร้างสรรค์ความรู้นิยม
ผู้วิจัย นางสาวหทัยกาญจน์ พลนิกร
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน อบจ.เมืองภูเก็ต ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต สังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตที่เรียนโดยใช้วิธีการสอนตามแนวทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้นิยม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน อบจ.เมืองภูเก็ต ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต สังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตหลังจากที่เรียนโดยใช้วิธีการสอนตามแนวทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้นิยม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561โรงเรียน อบจ.เมืองภูเก็ต ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต สังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตจำนวน 35 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ แบบปรนัย จำนวน 25 ข้อ แบบอัตนัย จำนวน 2 ข้อ และแผนการสอนตามแนวทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้นิยม จำนวน 8 แผน สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยเรื่อง ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน อบจ.เมืองภูเก็ต ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต สังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตที่เรียนโดยใช้วิธีสอนตามแนวทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้นิยม พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสูงขึ้น โดยมีคะแนนจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้