LASTEST NEWS

28 ส.ค. 2567สพม.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 4 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว 3 กันยายน 2567 28 ส.ค. 2567สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 143 อัตรา รับสมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 5-29 กันยายน 2567 28 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 28 ส.ค. 2567กรมท่าอากาศยาน รับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อเลือกสรรและจัดจ้างเป็นลูกจ้างทุนหมุนเวียนในตำแหน่งต่าง ๆ 13 อัตรา รับสมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2567 - 2 กันยายน 2567 28 ส.ค. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดสอบบรรจุรับราชการ 29 อัตรา รับสมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่ 6-26 กันยายน 2567  28 ส.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 1 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วยจาก สพป.กำแพงเพชร เขต 2 จำนวน 1 อัตรา 28 ส.ค. 2567สพป.จันทบุรี เขต 1 ประกาศบัญชีรายชื่อข้าราชการครูที่ยื่นประสงค์ย้ายมาดํารงตําแหน่งครู ในสถานศึกษาสังกัด สพป.จันทบุรี เขต 1 (การย้ายกรณีปกติ) ประจําปี พ.ศ. 2567 รอบที่ 2 28 ส.ค. 2567ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 27 ส.ค. 2567โรงเรียนสามัคคีวิทยา(เชื้อผู้ดีอุปถัมภ์) รับสมัครเจ้าหน้าที่ธุรการ วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 กันยายน  2567 27 ส.ค. 2567โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม รับสมัครครูอัตราจ้าง จำนวน 2 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 30 สิงหาคม 2567

เอกสารประกอบการสอน เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชี

usericon

เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชี
1. ความหมายของการบัญชี
2. วัตถุประสงค์ของการบัญชี
3. ประโยชน์ของการบัญชี
4. ประวัติของการบัญชี
5. กรอบแนวคิดสาหรับการรายงานทางการเงินและข้อสมมติทางการบัญชี
6. ประเภทและรูปแบบของธุรกิจ
7. ข้อแนะนาในการเรียนวิชาการบัญชี
1. การบัญชี (Accounting) หมายถึง การรวบรวมเอกสารหลักฐานทางการเงิน จดบันทึก
รายการค้า จาแนกข้อมูล สรุปผล และจัดทารายงานทางการเงิน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้อง
2. วัตถุประสงค์ของการบัญชี เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องของกิจการ ได้แก่ ผู้ใช้ภายนอก
และผู้ใช้ภายในกิจการ
3. ประโยชน์ของการบัญชีเพื่อเป็นเครื่องมือวัดความสาเร็จ การวางแผนกาไรและควบคุมค่าใช้จ่าย
ของกิจการ การวางแผนการดาเนินงานเป็นข้อมูลในการหาแหล่งเงินทุนในการดาเนินงานและการควบคุม
ภายในที่ดี
4. ประวัติของการบัญชีมีมาประมาณ 5,000 ปีแล้วโดยเริ่มในสมัยอียิปต์ และในประเทศไทย
การบัญชีเริ่มต้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475
5. กรอบแนวคิดสาหรับการรายงานทางการเงินใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดทาและการนาเสนอ
งบการเงินสาหรับผู้ใช้ภายนอก และงบการเงินจัดทาขึ้นตามข้อสมมติที่ว่ากิจการจะดาเนินงาน
อย่างต่อเนื่องและดารงอยู่ต่อไปในอนาคตที่คาดการณ์ได้
หัวข้อเรื่อง
หน่วยที่ 1
สาระสาคัญ
๕๕๕๕๕คัยญ
2
6. ประเภทของธุรกิจมี 3 ประเภท คือ ธุรกิจบริการ ธุรกิจพาณิชยกรรม ธุรกิจอุตสาหกรรม
และรูปแบบของธุรกิจมี 3 ประเภท คือ กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน และบริษัทจากัด
7. ข้อแนะนาในการเรียนวิชาการบัญชี ผู้เรียนมีการอ่านบทเรียนล่วงหน้า ซักถามครูผู้สอน
ทาแบบฝึกหัด เขียนตัวอักษรและตัวเลขให้อ่านง่าย ชัดเจน
เมื่อศึกษาหน่วยที่ 1 จบแล้ว นักเรียนสามารถ
1. อธิบายความหมายของการบัญชีได้
2. บอกวัตถุประสงค์ของการบัญชีได้
3. บอกประโยชน์ของการบัญชีได้
4. บอกประวัติของการบัญชีได้
5. อธิบายกรอบแนวคิดสาหรับการรายงานทางการเงินและข้อสมมติทางการบัญชีได้
6. บอกประเภทและรูปแบบของธุรกิจได้
7. ปฏิบัติตามข้อแนะนาในการเรียนวิชาการบัญชีได้
จุดประสงค์การเรียนรู้
3
คำชี้แจง ให้นักเรียนกำเครื่องหมำย X ข้อคำตอบที่เห็นว่ำถูกต้องที่สุดในกระดำษคำตอบ
1. การบัญชีคือข้อใด
ก. Account
ข. Acounting
ค. Accounting
ง. Accountant
2. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของการบัญชี
ก. จดบันทึก
ข. จาแนกข้อมูล
ค. การตรวจสอบ
ง. รวบรวมเอกสาร
3. ข้อใดถือเป็นวัตถุประสงค์ของการบัญชี
ก. เพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลทางสถิติ
ข. เพื่อให้เกิดความทันสมัยภายในกิจการ
ค. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อลูกหนี้ของกิจการ
ง. เพื่อให้ทราบจานวนผู้ถือหุ้นของกิจการ
4. กลุ่มผู้ใช้งบการเงินภายนอกกิจการคือข้อใด
ก. เจ้าหนี้
ข. ผู้จัดการ
ค. พนักงาน
ง. เจ้าของกิจการ
5. ข้อใดไม่ถือเป็นประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี
ก. วางแผนกาไร
ข. หาแหล่งเงินทุน
ค. วางแผนการดาเนินงาน
ง. วัดความนิยมจากบุคคลภายนอก
6. บิดาแห่งการบัญชีคือใคร
ก. มิเชล ซิโอลิ
ข. ฟิลิป ปาลิโอ
ค. เดวิด ปาซิโอ
ง. ลูกา ปาซิโอลิ
แบบประเมินผลกำรเรียนรู้ก่อนเรียนหน่วยที่ 1
4
7. กรอบแนวคิดสาหรับการรายงานทางการเงิน คือข้อใด
ก. Conceptual Framework
ข. Conceptual Framework for Financial
ค. Conceptual Framework for Reporting
ง. Conceptual Framework for Financial Reporting
8. Single proprietorship คือข้อใด
ก. บริษัทจากัด
ข. ห้างหุ้นส่วนจากัด
ค. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
ง. กิจการเจ้าของคนเดียว
9. ข้อใดหมายถึงธุรกิจบริการ
ก. ธุรกิจสปา
ข. การขายปลีก
ค. ร้านขายของชา
ง. โรงงานผลิตเสื้อผ้าสาเร็จรูป
10. การเขียนตัวเลขตามข้อใดถูกต้อง
ก. 1,400.50
ข. 2500.50
ค. 36,00.00
ง. 2,6000.00
5
แผนผังความคิดรวบยอด
(Concept Mapping)
ในปัจจุบันหน่วยงานทางธุรกิจที่แสวงหาผลกาไร และหน่วยงานที่มิได้แสวงหาผลกาไร ต้องมีข้อมูล
พื้นฐานสาหรับการวางแผน การควบคุมและการตัดสินใจในการดาเนินงาน การบัญชีนับว่ามีความสาคัญ
ความรู้เบื้องต้น
เกี่ยวกับการบัญชี
1. ความหมาย
ของการบัญชี
2. วัตถุประสงค์
ของการบัญชี
3. ประโยชน์
ของการบัญชี
4. ประวัติของ
การบัญชี
5. กรอบ
แนวคิดดสาหรับ
การรายงานทาง
การเงิน
6. ประเภทและ
รูปแบบของ
ธุรกิจ
7. ข้อแนะนาใน
การเรียน
วิชาการบัญชี
6
อย่างยิ่งเพราะข้อมูลทางการบัญชีจะแสดงอยู่ในรูปของตัวเลขทางการเงินที่สะท้อนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
รวมทั้งกิจกรรมการดาเนินงานต่าง ๆ ของกิจการ ดังนั้น การบัญชีจึงมีบทบาทสาคัญเพราะเป็นเครื่องมือ
ในการวัดความสาเร็จหรือความล้มเหลวของกิจการ
คานิยามของการบัญชี (Accounting) มีอยู่มากมาย ได้แก่ คานิยามของสมาคมนักบัญชี
และตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (The American Institute of Certified Public
Accountants หรือ AICPA) ได้ให้คาจากัดความของคาว่า การบัญชี ไว้ดังนี้
“การบัญชี หมายถึง การจดบันทึก การจาแนก การสรุปผล และรายงานเหตุการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับ
การเงิน โดยใช้หน่วยเป็นเงินตรา รวมทั้งการแปลความหมายของผลการปฏิบัติงาน”
สภาวิชาชีพบัญชี (Federation of Accounting Professions หรือ FAP) ได้ให้ความหมายของ
การบัญชี ไว้ดังนี้
“การบัญชี หมายถึง ศิลปะของการเก็บรวบรวม บันทึก จาแนก และทาสรุปข้อมูล
อันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปของตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีคือ การให้ข้อมูล
ทางการเงิน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อบุคคลหลายฝ่าย และผู้ที่สนใจในกิจกรรมของกิจการ”
สรุป การบัญชี (Accounting) หมายถึง การรวบรวมเอกสารหลักฐานทางการเงิน จดบันทึก
รายการค้า จาแนกข้อมูล สรุปผล และจัดทารายงานทางการเงิน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้อง
ของกิจการ
ผลของการจัดทาบัญชี คือ รายงานทางการเงินเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องของกิจการ สามารถ
แบ่งกลุ่มผู้ใช้ข้อมูลได้ 2 กลุ่ม คือ ผู้ใช้ภายนอก ได้แก่ เจ้าหนี้ สถาบันการเงิน นักลงทุน หน่วยงานของ
รัฐบาล เป็นต้น และผู้ใช้ภายในกิจการ ได้แก่ เจ้าของกิจการ พนักงาน ผู้ถือหุ้น เป็นต้น ข้อมูลทางการบัญชี
จึงเป็นข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจ การรายงานข้อมูลทางการเงินมีวัตถุประสงค์ตามความต้องการของผู้ใช้
ข้อมูล ดังนี้
2.1 เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุน และผู้ที่สนใจข้อมูลของกิจการ
2.2 เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการให้สินเชื่อของเจ้าหนี้ หรือสถาบันการเงิน
2.3 เพื่อเป็นข้อมูลในการควบคุมดูแลรักษาสินทรัพย์ของเจ้าของกิจการ
2.4 เพื่อเป็นข้อมูลในการรวบรวมสถิติ ซึ่งใช้มูลในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตในการ
วางแผนการบริหารงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ
2.5 เพื่อให้ทราบผลการดาเนินงานของกิจการในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่งว่ากิจการเกิดผล
กาไรหรือขาดทุนจานวนเท่าใด
2.6 เพื่อให้ทราบฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งว่า กิจการมีสินทรัพย์ หนี้สิน
และส่วนของเจ้าของจานวนเท่าใด
1. ความหมายของการบัญชี
2. วัตถุประสงค์ของการบัญชี
7
ประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี มีดังนี้
3.1 เพื่อเป็นเครื่องมือวัดความสาเร็จในการดาเนินธุรกิจ ทาให้ทราบผลการดาเนินงาน
และฐานะทางการเงินของกิจการ
3.2 เพื่อช่วยในการวางแผนกาไร และควบคุมค่าใช้จ่ายของกิจการ ซึ่งข้อมูลทางการบัญชี
สามารถนาไปวางแผนเกี่ยวกับยอดขาย รายได้จากการบริการ ต้นทุนขาย ต้นทุนการบริการ อันส่งผล
ถึงการวางแผนการดาเนินงาน
3.3 เพื่อช่วยในการวางแผนการดาเนินงาน โดยประเมินข้อมูลจากเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน
และอนาคต ซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารงานของกิจการ
3.4 เพื่อเป็นข้อมูลในการหาแหล่งเงินทุนในการดาเนินงาน โดยรายงานทางการเงิน ซึ่งเป็น
ผลเกิดจากการทาบัญชีสามารถใช้เป็นหลักฐานเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ เจ้าหนี้ สถาบันการเงิน ในการ
พิจารณาอนุมัติสินเชื่อ และความสามารถในการชาระหนี้ของกิจการ
3.5 เพื่อให้เกิดการควบคุมภายในที่ดี เป็นการป้องกันการทุจริตหรือข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น
เนื่องมาจากการดาเนินงาน
หลักฐานทางประวัติศาสตร์การบันทึกทางการบัญชีมีมาประมาณ 5,000 ปีแล้ว ดังนี้
สมัยอียิปต์ มีการจดบันทึกทรัพย์สินต่าง ๆ ในท้องพระคลัง มีการทารายงานทรัพย์สินส่งให้
พระมหากษัตริย์ทุกเดือน
สมัยบาบิโลเนียน มีการจดบันทึกใส่แผ่นดินเหนียว เป็นข้อมูลเกี่ยวกับรายรับ รายจ่าย ต้นทุน
เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ หนี้สิน เป็นต้น
สมัยกรีก มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับรายรับรายจ่ายประจางวด การหายอดคงเหลือต้นงวดและ
สิ้นงวด บันทึกสินค้าคงเหลือปลายงวดแสดงในงบการเงิน แหล่งที่มาของรายได้และแหล่งการใช้จ่าย
การบันทึกรายการจะมุ่งเน้นการรักษาทรัพย์สิน
สมัยโรมัน มีการจดบันทึกรายการไว้บนแผ่นขี้ผึ้ง โดยจะบันทึกไว้สองด้าน คล้ายกับหลักการบัญชีคู่
ในปลายศตวรรษที่ 13 ค้นพบหลักฐานการจดบันทึกรายการตามหลักการบัญชีคู่ (Double Entry
Book-Keeping) เริ่มแรกที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี
ใน ค.ศ. 1494 ลูกา ปาซิโอลิ (Luca Pacioli) ชาวอิตาลีได้เขียนหนังสือชื่อ “Summa de
Arithmetica Geometria Proportionalitia” เป็นหนังสือทางคณิตศาสตร์ กล่าวถึงการบัญชีใช้ศัพท์ทาง
บัญชีว่า เดบิโต (Debito) หมายถึงเป็นหนี้ และเครดิโต (Credito) หมายถึง มีความเชื่อถืออันเป็นที่มา
ของคาว่า “Debit” และ “Credit” ซึ่งเป็นที่ยอมรับและถือปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบันนี้ ลูกา ปาซิโอลิ ได้รับ
การยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการบัญชี
3. ประโยชน์ของการบัญชี
4. ประวัติของการบัญชี
8
สาหรับประเทศไทย การบัญชีเริ่มต้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน
2475) ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวมอันนาไปสู่การออกประมวลรัษฎากรจัดเก็บภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล กาหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดทาบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี
พ.ศ. 2482 โดยผู้ที่เผยแพร่ความรู้ทางด้านการบัญชีในระยะแรก คือ พระยาไชยยศสมบัติ
(เสริม กฤษณามระ) และหลวงดาริอิศรานุวรรต (ม.ล.ดาริ อิศรางxxxร ณ อยุธยา) ได้จัดทาเป็นหลักสูตร
การสอนวิชาการบัญชี เพื่อเผยแพร่ทาให้คนไทยได้มีความรู้ทางด้านการบัญชี ซึ่งทั้ง 2 ท่านจบการศึกษา
ทางด้านการบัญชีจากประเทศอังกฤษ และกลับมารับราชการที่สานักงานตรวจเงินแผ่นดิน
หลายกิจการทั่วโลกจัดทาและนาเสนองบการเงินสาหรับบุคคลภายนอก แม้งบการเงินของประเทศ
หนึ่งอาจคล้ายกับอีกประเทศหนึ่ง แต่มีความแตกต่างที่น่าจะเกิดจากสภาพแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ
และกฎหมายที่แตกต่างกัน และจากการที่ประเทศต่าง ๆ คานึงถึงความต้องการของผู้ใช้งบการเงินกลุ่ม
ต่าง ๆ เมื่อประเทศเหล่านั้นวางข้อกาหนดของประเทศ
สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันได้นาไปสู่การใช้นิยามขององค์ประกอบของงบการเงินที่แตกต่างกัน
เช่น สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้และค่าใช้จ่าย สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันยังได้ทาให้มี
การใช้เกณฑ์ที่ต่างกันสาหรับการรับรู้รายการในงบการเงินและความนิยมใช้เกณฑ์การวัดมูลค่าที่แตกต่าง
กัน ขอบเขตของงบการเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินย่อมได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน
คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (“คณะกรรมการฯ”) จึ่งมุ่งมั่นที่จะลด
ความแตกต่างเหล่านี้โดยหาทางที่จะทาให้กฎระเบียบ มาตรฐานการบัญชีและกระบวนการเกี่ยวกับ
การจัดทาและนาเสนองบการเงินมีความสอดคล้องกัน คณะกรรมการฯ เชื่อว่าแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อให้เกิด
ความสอดคล้องมากขึ้น คือ การมุ่งเน้นไปที่งบการเงิน ซึ่งจัดทาเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลที่มี
ประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ
5.1 กรอบแนวคิดสาหรับการจัดทารายงานทางการเงิน (Conceptual Framework for
Financial Reporting) ใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดทาและการนาเสนองบการเงินสาหรับผู้ใช้ภายนอก
วัตถุประสงค์ของกรอบแนวคิด คือ
5.1.1 เพื่อช่วยคณะกรรมการฯ พัฒนามาตรฐานการรายงานทางการเงินในอนาคตและทบทวน
มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่มีอยู่
5.1.2 เพื่อช่วยคณะกรรมการฯ ส่งเสริมการทาให้กฎระเบียบ มาตรฐานการบัญชีและ
กระบวนการเกี่ยวกับการนาเสนองบการเงินสอดคล้องกันโดยให้เกณฑ์เพื่อลดวิธีปฏิบัติทางบัญชีที่เป็น
ทางเลือกตามที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินอนุญาต
5.1.3 เพื่อช่วยหน่วยงานกาหนดมาตรฐานการรายงานทางการเงินของประเทศพัฒนามาตรฐาน
การรายงานทางการเงินของประเทศ
5.1.4 เพื่อช่วยผู้จัดทางบการเงินปฏิบัติตามาตรฐานการรายงานทางการเงินและจัดการกับ
ประเด็นที่ยังไม่ได้นามาพิจารณากาหนดเป็นมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
5.1.5 เพื่อช่วยผู้สอบบัญชีในการแสดงความเห็นว่า งบการเงินเป็นไปตามมาตรฐานการรายงาน
5. กรอบแนวคิดสาหรับการรายงานทางการเงิน (Conceptual Framework for Financial
Reporting) และข้อสมมติทางการบัญชี (Assumption)
9
ทางการเงินหรือไม่
5.1.6 เพื่อช่วยผู้ใช้งบการเงินตีความข้อมูลที่แสดงในงบการเงินซึ่งได้จัดทาขึ้นตามมาตรฐาน
การรายงานทางการเงิน และ
5.1.7 เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจงานของคณะกรรมการฯ เกี่ยวกับแนวทางการกาหนดมาตรฐาน
การรายงานทางการเงิน
กรอบแนวคิดสาหรับรายงานทางการเงินยังเป็นแนวทางในการพัฒนามาตรฐานการรายงาน
ทางการเงินในอนาคตและทบทวนมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่มีอยู่
5.2 ข้อสมมติทางการบัญชี (Assumption)
5.2.1 การดาเนินงานต่อเนื่อง (Going Concern) ในการจัดทางบการเงิน ฝ่ายบริหารต้อง
ประเมินความสามารถของกิจการในการดาเนินงานอย่างต่อเนื่องของกิจการ งบการเงินต้องจัดทาขึ้นตาม
เกณฑ์การดาเนินงานต่อเนื่อง เว้นแต่ฝ่ายบริหารมีความตั้งใจที่จะชาระบัญชี หรือหยุดประกอบธุรกิจ
หรือไม่มีทางเลือกที่เป็นไปได้จริงอื่นใดนอกเหนือจากการชาระบัญชีหรือหยุดประกอบธุรกิจ หากจากการ
ประเมินความสามารถของกิจการในการดาเนินงานอย่างต่อเนื่อง ทาให้ฝ่ายบริหารตระหนักว่ามีความไม่
แน่นอนอย่างมีสาระสาคัญเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ใดที่อาจทาให้เกิดความสงสัยอย่างมี
นัยสาคัญเกี่ยวกับความสามารถในการดาเนินงานอย่างต่อเนื่องของกิจการ กิจการต้องเปิดเผยให้ทราบถึง
ความไม่แน่นอนดังกล่าว ในกรณีที่งบการเงินมิได้จัดทาขึ้นตามหลักการดาเนินงานต่อเนื่อง กิจการต้อง
เปิดเผยถึงข้อเท็จจริงนี้ พร้อมทั้งเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดทางบการเงินนั้น และเหตุผลที่ไม่อาจถือได้ว่ากิจการ
เป็นกิจการที่จะดาเนินงานอย่างต่อเนื่องได้
ในการประเมินความเหมาะสมของข้อสมมติเกี่ยวกับการดาเนินงานต่อเนื่องของกิจการ
ฝ่ายบริหารต้องพิจารณาข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่เกี่ยวกับอนาคตเป็นเวลาอย่างน้อย 12 เดือนนับตั้งแต่
วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ระดับของการพิจารณาขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงในแต่ละกรณี ในกรณีที่กิจการ
มีการดาเนินงานที่มีกาไรในอดีตและมีความพร้อมที่จะหาแหล่งเงินทุนรองรับ กิจการอาจสรุปได้ว่าการใช้
หลักการดาเนินงานต่อเนื่องในการนาเสนองบการเงินมีความเหมาะสมแล้ว โดยที่ไม่จาเป็นต้องวิเคราะห์
รายละเอียด ในกรณีอื่นฝ่ายบริหารอาจต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความสามารถในการทากาไร
ทั้งในปัจจุบันและจากการคาดหวังในอนาคต กาหนดการชาระคืนหนี้และแหล่งเงินทุนทดแทนที่เป็นไปได้
ก่อนที่จะสามารถสรุปได้ว่าการใช้เกณฑ์การดาเนินงานต่อเนื่องในการนาเสนองบการเงินนั้นมี
ความเหมาะสม
5.2.2 เกณฑ์คงค้าง (Accrual Basis) กิจการต้องใช้เกณฑ์คงค้าง เว้นแต่เป็นข้อมูลกระแส
เงินสด เมื่อใช้เกณฑ์คงค้างในการจัดทางบการเงิน กิจการต้องรับรู้รายการเป็นสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของ
เจ้าของ รายได้ และค่าใช้จ่าย (องค์ประกอบของงบการเงิน) เมื่อรายการเหล่านั้นเป็นไปตามคานิยามและ
เกณฑ์การรับรู้รายการตามที่กาหนดไว้ในกรอบแนวคิดสาหรับการรายงานทางการเงิน
6.1 ประเภทของธุรกิจ
6. ประเภทและรูปแบบของธุรกิจ
10
การดาเนินงานของธุรกิจเริ่มต้นตั้งแต่การนาทรัพยากรที่หาได้และปัจจัยต่าง ๆ มาเปลี่ยนสภาพ
ด้วยวิธีการต่าง ๆ จนกระทั่งได้สินค้าหรือบริการออกมาเพื่อนาออกจาหน่ายให้แก่ผู้บริโภค เมื่อจาหน่ายได้
แล้วก็จะนารายได้นั้นมาดาเนินการแปรสภาพเป็นทรัพยากรต่อไป
ประเภทของธุรกิจ สามารถแบ่งตามลักษณะของกิจกรรมได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
6.1.1 ธุรกิจบริการ (Service business) รายได้เกิดจากค่าบริการ ซึ่งอาจอยู่ในลักษณะ
ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าแรงงาน ค่าเช่าที่คิดกับลูกค้า ซึ่งธุรกิจบริการ ได้แก่ การขนส่ง การโรงแรม
ธุรกิจสปา โรงภาพยนตร์ สถาบันการเงิน ร้านเสริมสวย ร้านบริการซ่อม สานักงานบัญชี เป็นต้น
6.1.2 ธุรกิจพาณิชยกรรม (Merchandising business) เป็นธุรกิจที่กระจายสินค้าจากผู้ผลิต
ไปสู่มือผู้บริโภค รายได้หลักเกิดจากการขายสินค้า การประกอบธุรกิจอาจอยู่ในลักษณะการขายส่งสินค้า
การขายปลีก การขายผ่อนส่ง และการขายฝาก เป็นต้น
6.1.3 ธุรกิจอุตสาหกรรม (Manufacturing business) เป็นธุรกิจที่แปรสภาพวัตถุดิบ
ให้เป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นและนาออกขายแก่ลูกค้าทั่วไป รายได้หลักมาจากการขายสินค้าที่ผลิต เช่น
โรงงานทอผ้า โรงงานผลิตเสื้อผ้าสาเร็จรูป ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น
6.2 รูปแบบของธุรกิจ
รูปแบบของธุรกิจ สามารถจาแนกได้ 3 ประเภท คือ
6.2.1 กิจการเจ้าของคนเดียว (Single proprietorship) กิจการนี้มีบุคคลคนเดียว
เป็นเจ้าของ เป็นกิจการค้าขนาดกลางหรือขนาดเล็กบุคคลคนเดียวเป็นผู้นาเงินมาลงทุนโดยใช้เงินทุน
จานวนไม่มากนัก เมื่อมีกาไรหรือขาดทุนเกิดขึ้นเจ้าของกิจการจะรับรู้แต่เพียงผู้เดียว กิจการนี้ข้อดีคือ
จัดตั้งหรือล้มเลิกง่าย การดาเนินงานอิสระ แต่มีข้อจากัดในแง่ของเงินทุน เนื่องจากหาแหล่งเงินทุนได้ยาก
เมื่อต้องการขยายกิจการ ความสาเร็จหรือล้มเหลวขึ้นอยู่กับความสามารถของเจ้าของกิจการ
6.2.2 ห้างหุ้นส่วน (Partnership) คือกิจการที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมกันดาเนิน
ธุรกิจโดยประสงค์จะแบ่งปันกาไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทานั้น ห้างหุ้นส่วนมีข้อดีคือ การบริหารงาน
จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ความเสี่ยงลดลงเพราะมีหุ้นส่วนหลายคนช่วยกันบริหารงานและเฉลี่ย
ความรับผิดชอบ การหาแหล่งเงินทุนทาได้ง่ายกว่า ส่วนข้อเสียคือ การบริหารงานขาดประสิทธิภาพ
หรืออาจถึงขั้นล้มกิจการ หากหุ้นส่วนเกิดความขัดแย้ง และเงินทุนมีจากัดหากเทียบกับเงินทุนของบริษัท
จากัด ห้างหุ้นส่วนตามกฎหมาย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
6.2.2.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Ordinary partnership) คือ ห้างหุ้นส่วนซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วน
ทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จากัดจานวน ห้างหุ้นส่วนสามัญแบ่งได้
เป็น 2 ชนิด คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน และห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
6.2.2.2 ห้างหุ้นส่วนจากัด (Limited partnership) คือ ห้างหุ้นส่วนซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน
2 ประเภท คือ หุ้นส่วนประเภทจากัดความรับผิดชอบ โดยจะรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนไม่เกิน
กว่าจานวนที่ตนได้ลงทุนในห้างหุ้นส่วน และหุ้นส่วนประเภทรับผิดชอบในหนี้สินไม่จากัด โดยรับผิดชอบ
ร่วมกันในหนี้สินที่เกิดขึ้นไม่จากัดจานวนแต่สามารถบริหารงานห้างหุ้นส่วนได้
6.2.3 บริษัทจากัด (Corporation หรือ Limited Company) คือ กิจการที่ตั้งขึ้นโดยการ
ร่วมลงทุนของกลุ่มบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปดาเนินธุรกิจร่วมกัน โดยเข้าชื่อกันทาหนังสือบริคณห์สนธิและ
จดทะเบียนมีการแบ่งทุนออกเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน (มิได้ต่ากว่าห้าบาท) ผู้ที่ลงทุนซื้อหุ้นของ
บริษัทเรียกว่า ผู้ถือหุ้น (Shareholders) ซึ่งจะรับผิดชอบในหนี้สินจากัดเพียงไม่เกินจานวนเงินที่ยังส่ง
11
ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ บริษัทจากัดสามารถจาหน่ายหุ้นได้ 2 ชนิด คือ หุ้นสามัญ (Common
stocks) และหุ้นบุริมสิทธิ (Preferred stocks) บริษัทจากัดมี 2 ประเภท คือ
6.2.3.1 บริษัทเอกชน จากัด (Private Company Limited) คือ บริษัทซึ่งตั้งขึ้น
ด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดชอบเพียงไม่เกินจานวนเงินที่ยังส่งใช้ไม่ครบ
มูลค่าของหุ้นที่ตนถือ
6.2.3.2 บริษัทมหาชน จากัด (Public Company Limited) คือ บริษัทซึ่งตั้งขึ้น
โดยต้องมีบุคคลตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป มีความประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชนโดยผู้ถือหุ้น
มีความรับผิดจากัดไม่เกินจานวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชาระ
การศึกษาวิชาการบัญชี ผู้เรียนควรมีความพร้อมเพื่อให้เกิดประโยชน์และประสบผลสาเร็จ ดังนี้
7.1 ผู้เรียนควรมีการอ่านบทเรียนล่วงหน้าก่อนเข้าชั้นเรียน อย่างน้อย 2 ครั้ง
7.2 ระหว่างเรียนถ้ามีข้อสงสัยไม่เข้าใจเนื้อหาในบทเรียนให้ซักถามครูผู้สอนให้เข้าใจ
7.3 ทาแบบฝึกหัดด้วยตนเองทุกข้ออย่างถูกต้องและรวดเร็ว เพราะจะทาให้เกิดทักษะ
7.4 การเขียนตัวอักษรและตัวเลขต้องอ่านง่าย ชัดเจน สะอาด เพื่อให้เกิดระเบียบฝึกการเป็น
นักบัญชีที่ดี
7.5 การเขียนตัวเลขต้องตรงหลัก และตัวเลขหลักหน่วยในช่องจานวนเงิน (บาท) ต้องชิดเส้น
ช่อง (ส.ต.) เสมอ เช่น หลักหน่วยเขียนตรงกับหลักหน่วย หลักสิบเขียนตรงกับหลักสิบ หลักร้อยเขียนตรง
กับหลักร้อย เป็นต้น ดังตัวอย่าง
7.6 การเขียนตัวเลขทุก ๆ 3 ตัว ให้ใช้เครื่องหมายจุลภาค ( , ) โดยนับจากจุดทศนิยม
ไปทางซ้ายมือทุก 3 ตัว ถ้าไม่มีเศษสตางค์ให้ใช้เครื่องหมายยัติภังค์ ( - ) ดังตัวอย่าง
บาท ส.ต.
บาท ส.ต.
500 50
400 25
300 75
7. ข้อแนะนาในการเรียนวิชาการบัญชี
หมายเหตุ การศึกษารายวิชาการบัญชีเบื้องต้น 1 นี้ เพื่อให้ง่ายต่อการทาความเข้าใจ จะอธิบาย
โดยใช้ตัวอย่างการดาเนินธุรกิจ ประเภทธุรกิจบริการในรูปแบบกิจการเจ้าของคนเดียว
12
125,500 75
1,584,250 -
6,300 50
7.7 ถ้าเขียนตัวเลขผิดในทางบัญชีจะไม่ขูดลบหรือเขียนทับตัวเลขที่ผิด แต่จะแก้ไข
ด้วยการขีดเส้นฆ่าตัวเลขที่ผิด แล้วเขียนตัวเลขใหม่ที่ถูกต้องไว้ข้างบนตัวเลขที่ผิด และลงชื่อกากับไว้
เช่น ตัวเลขที่ถูกต้อง คือ 2,500.25 แต่เขียนเป็น 5,200.52 ดังนั้น จึงแก้ไข้ให้ถูกต้อง ดังตัวอย่าง
ทัศนีย์
บาท ส.ต.
28,200 -
2,500
5,200
25
52
356,300 50
14
การบัญชี (Accounting) หมายถึง การรวบรวมเอกสารหลักฐานทางการเงิน จดบันทึก
รายการค้า จาแนกข้อมูล สรุปผล และจัดทารายงานทางการเงิน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้อง
ของกิจการ
วัตถุประสงค์ของการบัญชี เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องของกิจการ ได้แก่ ผู้บริหาร
กิจการ พนักงาน ผู้ถือหุ้น นักลงทุน หน่วยงานของรัฐบาล ใช้ข้อมูลทางบัญชีในการตัดสินใจ
วางแผนการดาเนินงานของกิจการให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ประโยชน์ของข้อมูลการบัญชี เพื่อเป็นเครื่องมือวัดความสาเร็จในการดาเนินธุรกิจ ทาให้
ทราบผลการดาเนินงาน และฐานะทางการเงินของกิจการ ช่วยในการวางแผนกาไร และควบคุม
ค่าใช้จ่ายของกิจการ การวางแผนการดาเนินงาน การหาแหล่งเงินทุน การป้องกันการทุจริตหรือ
ข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น
ประวัติของการบัญชี การบันทึกทางการบัญชีมีมาประมาณ 5,000 ปีแล้ว ใน ค.ศ. 1494
ลูกา ปาซิโอลิ (Luca Pacioli) ชาวอิตาลี ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการบัญชี สาหรับ
ประเทศไทยการบัญชีเริ่มต้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475)
ในปี พ.ศ. 2482 โดยผู้ที่เผยแพร่ความรู้ทางด้านการบัญชีในระยะแรก คือ พระยาไชยยศสมบัติ
(เสริม กฤษณามระ) และหลวงดาริอิศรานุวรรต (ม.ล.ดาริ อิศรางxxxร ณ อยุธยา) ได้จัดทาเป็น
หลักสูตรการสอนวิชาการบัญชี เพื่อเผยแพร่ทาให้คนไทยได้มีความรู้ทางด้านการบัญชี
กรอบแนวคิดสาหรับการรายงานทางการเงิน ใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดทาและการนาเสนอ
งบการเงินสาหรับผู้ใช้ภายนอก เป็นแนวทางในการพัฒนามาตรฐานการรายงานทางการเงินในอนาคต
และทบทวนมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่มีอยู่ และงบการเงินจัดทาขึ้นตามข้อสมมติที่ว่ากิจการ
จะดาเนินงานอย่างต่อเนื่องและดารงอยู่ต่อไปในอนาคตที่คาดการณ์ได้
ประเภทและรูปแบบของธุรกิจ ประเภทของธุรกิจ สามารถจาแนกได้ 3 ประเภท คือ ธุรกิจ
บริการ ธุรกิจพาณิชยกรรม ธุรกิจอุตสาหกรรม และรูปแบบของธุรกิจ สามารถจาแนกได้ 3 ประเภท
คือ กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนจากัด และบริษัท
จากัด ได้แก่ บริษัทเอกชน จากัด และบริษัทมหาชน จากัด
ข้อแนะนาในการเรียนวิชาการบัญชี ผู้เรียนควรมีการอ่านบทเรียนล่วงหน้าก่อนเข้าชั้นเรียน
อย่างน้อย 2 ครั้ง ถ้ามีข้อสงสัยไม่เข้าใจเนื้อหาในบทเรียนให้ซักถามครูผู้สอนให้เข้าใจทาแบบฝึกหัด
ด้วยตนเองทุกข้ออย่างถูกต้องและรวดเร็วเพราะจะทาให้เกิดทักษะ การเขียนตัวอักษรและตัวเลขต้อง
อ่านง่ายสะอาดชัดเจนเพื่อให้เกิดระเบียบฝึกการเป็นนักบัญชีที่ดีเขียนตัวเลขตรงหลัก การแก้ไขตัวเลข
ที่ผิดจะใช้วิธีขีดฆ่าแล้วเขียนตัวเลขใหม่ที่ถูกต้องไว้ข้างบนตัวเลขที่ผิดและลงชื่อกากับ
สรุป
15
คำศัพท์ คำแปล
Accounting การบัญชี
The American Institute of Certified Public
Accountants : AICPA
สมาคมนักบัญชีและตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา
Federation of Accounting Professions :
FAP
สภาวิชาชีพบัญชี
Double entry Book-keeping การจดบันทึกรายการตามหลักการบัญชีคู่
Conceptual Framework for Financial
Reporting
กรอบแนวคิดสาหรับรายงานทางการเงิน
Assumption ข้อสมมติทางการบัญชี
Going Concern การดาเนินงานต่อเนื่อง
Accrual Basis เกณฑ์คงค้าง
Service business ธุรกิจบริการ
Merchandising business ธุรกิจพาณิชยกรรม
Manufacturing business ธุรกิจอุตสาหกรรม
Single proprietorship กิจการเจ้าของคนเดียว
Partnership ห้างหุ้นส่วน
Ordinary partnership ห้างหุ้นส่วนสามัญ
Limited partnership ห้างหุ้นส่วนจากัด
Corporation or Limited Company บริษัทจากัด
Shareholders ผู้ถือหุ้น
Common stocks หุ้นสามัญ
Preferred stocks หุ้นบุริมสิทธิ
Private Company Limited บริษัทเอกชน จากัด
Public Company Limited บริษัทมหาชน จากัด
ศัพท์บัญชี หน่วยที่ 1
16
จงตอบคำถำมต่อไปนี้ให้ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด
1. อธิบายความหมายของการบัญชี
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………..……………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
2. จงบอกวัตถุประสงค์ของการบัญชี
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………..……………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3. จงบอกประโยชน์ของการบัญชี
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………..……………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
4. จงบอกประวัติของการบัญชี
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………..……………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
5. จงบอกวัตถุประสงค์ของกรอบแนวคิดสาหรับการรายงานทางการเงินและข้อสมมติทางการบัญชี
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………..……………………………………….
คำถำมท้ำยหน่วยที่ 1
17
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
6. จงบอกประเภทและรูปแบบของธุรกิจ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………..……………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
7. จงบอกข้อแนะนาในการเรียนวิชาการบัญชี
………………………
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^