เผยแพร่ผลงานวิชาการ การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเสริม
หัวข้อผลงาน การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเสริม เรื่อง โรคติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ
พลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6
ชื่อผู้จัดทำ นายชัยวัฒน์ ขาวทุ่ง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ปีที่ทำการศึกษา 2560
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเสริม เรื่อง โรคติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ คือ
1. เพื่อสร้างและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเสริม เรื่อง โรคติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80 / 80
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเสริม เรื่อง โรคติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเสริม เรื่อง โรคติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ในการศึกษาครั้งนี้ศึกษากับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนบ้านหนองตลับ อำเภอ คีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 16 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเสริม เรื่อง โรคติดต่อ ที่ผู้รายงานได้พัฒนาขึ้น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเสริม ด้วยเกณฑ์ 80 / 80 โดยใช้สูตร E1/E2 วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างผลการสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเสริม โดยใช้สถิติ ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t-test ( Dependent ) ผลการศึกษาพบว่า
1.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเสริม เรื่อง โรคติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 86.08 / 83.96 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80 / 80
2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเสริม เรื่อง โรคติดต่อ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเสริม เรื่อง โรคติดต่อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54 และ S.D. = 0.31 )