อ่านต่อได้ที่: http://www.kruwandee.com/index.php?module=foru
แบบบูรณาการของครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะพื้นฐานการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๕ อาคารสลากกินแบ่งรัฐบาล
ชื่อผู้วิจัย : นางปิยะภรณ์ ด้วงตุด
หน่วยงาน : โรงเรียนเทศบาล ๕ อาคารสลากกินแบ่งรัฐบาล สังกัดกองการศึกษาเทศบาล
เมืองปัตตานี
ปีการศึกษา : 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะพื้นฐานการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๕ อาคารสลากกินแบ่งรัฐบาล 2 ) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะพื้นฐานการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๕ อาคารสลากกินแบ่งรัฐบาล กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ ครู และนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๕ อาคารสลากกินแบ่งรัฐบาล ในปีการศึกษา 2560 จำนวนรวม 246 คน จำแนกเป็นครูกลุ่มอ้างอิง จำนวน 4 คน ครูผู้สอนจำนวน 20 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 222 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบประเมินและประเด็นการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t-test แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลวิจัยพบว่า
ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารได้รูปแบบการบริหารมีชื่อว่า BPAOR Model ประกอบด้วยหลักการ คือ การบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นการสร้างความตั้งใจในการปฏิบัติงาน ย่อมทำให้ครูปฏิบัติงานวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลต่อคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครูและยกระดับทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน กระบวนการบริหารมี 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 สร้างความตั้งใจในการปฏิบัติ (Build the Intention to Act) ขั้นที่ 2 การวางแผนการดำเนินการพัฒนา (Planning) ขั้นที่ 3 การปฏิบัติการพัฒนา (Acting) ขั้นที่ 4 การสังเกตและประเมินผล (Observation and Evaluating) ขั้นที่ 5 การสะท้อนผลและการปรับปรุงพัฒนา (Reflection and Development)โดยมีเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ได้แก่ 1) ครูมีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานการเรียนรู้ของนักเรียน 2) ครูกลุ่มอ้างอิงเป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะพื้นฐานการเรียนรู้ของนักเรียนและเป็นบุคคลที่ครูมีความเชื่อมั่น ศรัทธาในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตน 3) ครูมีความเชื่อว่าตนมีความรู้และความสามารถที่จะจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะพื้นฐานการเรียนรู้ของนักเรียนได้ 4) ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจ และมีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะพื้นฐานการเรียนรู้ของนักเรียน 5) ผู้บริหารมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการสนับสนุนส่งเสริมและกำกับติดตามการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะพื้นฐานการเรียนรู้ของนักเรียน
ผลการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครูที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะพื้นฐานการเรียนรู้ของนักเรียน พบว่า ครูมีสมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะพื้นฐานการเรียนรู้ของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการบริหารอยู่ในระดับสูง ครูกลุ่มอ้างอิงและครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะพื้นฐานการเรียนรู้ของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนมีทักษะพื้นฐานการเรียนรู้หลังการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครูอยู่ในระดับสูง นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะพื้นฐานการเรียนรู้ของนักเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยทางสำคัญสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครู ในระดับมากที่สุด