อ่านต่อได้ที่: http://www.kruwandee.com/index.php?module=foru
ชื่อผู้วิจัย : นางปิยะภรณ์ ด้วงตุด
หน่วยงาน : โรงเรียนเทศบาล ๕ อาคารสลากกินแบ่งรัฐบาล สังกัดกองการศึกษาเทศบาล
เมืองปัตตานี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีการศึกษา : 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๕ อาคารสลากกินแบ่งรัฐบาล มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๕ อาคารสลากกินแบ่งรัฐบาล 2) เพื่อประเมินปัจจัยในการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๕ อาคารสลากกินแบ่งรัฐบาล 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๕ อาคารสลากกินแบ่งรัฐบาล 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๕ อาคารสลากกินแบ่งรัฐบาล กลุ่มเป้าหมายในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย ครู จำนวน 30 คน ผู้ปกครอง จำนวน 164 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 164 คนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 373 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และร้อยละ (%)
ผลการศึกษา
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่าผลการดำเนินโครงการด้านบริบท อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดความต้องการความจำเป็นในการจัดทำโครงการ (4.36) ตัวชี้วัดความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับนโยบายต้นสังกัด (4.51) และตัวชี้วัดความสอดคล้องของกิจกรรมที่ระบุไว้ในโครงการ (4.40)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีผลการดำเนินโครงการด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดที่ได้ระดับมากทั้ง 3 ตัวชี้วัด คือ บุคลากรในการดำเนินโครงการ (4.30) ตัวชี้วัดงบประมาณในการดำเนินโครงการ (4.14) และตัวชี้วัดวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ (4.19)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่าผลการดำเนินโครงการด้านกระบวนการอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ตัวชี้วัด คือ การวางแผนของโครงการ (4.64) การจัดกิจกรรมดำเนินงานตามโครงการ (4.53) ส่วนตัวชี้วัดด้านการประเมินผลโครงการและการปรับปรุงอยู่ในระดับมาก (4.28)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ผลการดำเนินโครงการด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาด้านการคิดพอประมาณ การคิดมีเหตุผล การคิดอย่างมีภูมิคุ้มกัน การคิดวิเคราะห์องค์ความรู้ การคิดอย่างมีคุณธรรม และการคิดตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม (4.29) ตัวชี้วัดความสำเร็จผลของการจัดกิจกรรม โครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน (4.34) ตัวชี้วัด ความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (4.40) และตัวชี้วัดคุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับ (4.29)