การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD
และตัวตั้งไม่เกิน 100 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้ศึกษา นางสาวเกษร ศรีจันดี ตำแหน่ง ครู โรงเรียนบ้านสิริขุนหาญ องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่ศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่ช่วยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ก่อให้เกิด ความสัมพันธ์ที่ดี ส่งผลให้ผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล วิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD
เรื่อง การบวก การลบจํานวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 75/75 เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่อง การบวก การลบจํานวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่อง การบวก การลบจํานวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบ้านสิริขุนหาญ องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จํานวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ซึ่งใช้หน่วยการสุ่มเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ค้นคว้า ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่อง การบวก การลบจํานวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จํานวน 15 แผน ใช้เวลาในการสอน 18 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จํานวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย (P) ตั้งแต่ 0.20 – 0.80 และค่าอำนาจจำแนก(B) ตั้งแต่ 0.27 – 0.80 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ จํานวน 8 ข้อ มีค่าอํานาจจําแนก ตั้งแต่ 0.12 ถึง 0.88 มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และค่าประสิทธิผล E.I.
ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้
1. การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่อง การบวก การลบ จํานวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 95.37/90.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่อง การบวก การลบ จํานวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าท่ากับ 0.8415 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.8415 หรือคิดเป็นร้อยละ 84.15
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่อง การบวก การลบจํานวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 2.65, S.D = 0.59)
โดยสรุป ผลการศึกษาค้นคว้าโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล นักเรียนมีความสนุกสนานและพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สามารถนําไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุผลตามความมุ่งหมายของหลักสูตรได้