LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

รายงานการประเมินโครงการการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่าง

usericon

รายงานการประเมินโครงการการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง
ของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา
โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม

นางสาวสุนันทินี สุขสวัสดิ์ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 38
บทคัดย่อ
    รายงานการประเมินโครงการการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคมนี้ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อประเมินโครงการการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม แบ่งขั้นตอนการประเมินโครงการออกเป็น 4 ขั้นตอน ตามรูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การประเมินด้านบริบท เพื่อประเมินสภาพต่างๆ รอบตัวนักเรียนที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งความเหมาะสมความจำเป็นที่ต้องจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ขั้นตอนที่ 2 การประเมินด้านปัจจัยป้อน เพื่อประเมินองค์ประกอบที่สำคัญต่อการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ขั้นตอนที่ 3 การประเมินด้านกระบวนการ เพื่อประเมินการดำเนินการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ขั้นตอนที่ 4 การประเมินด้านผลผลิต เพื่อประเมินผลของการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง โดยมีรายละเอียดการดำเนินการการประเมินโครงการการจัดกิจกรรมประเมิน ดังนี้
    ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ได้แก่ ผู้ประเมินโครงการการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน ปีการศึกษา 2560 จำแนกตามหน้าที่ของผู้ประเมิน ดังนี้ 1) คณะผู้บริหาร จำนวน 8 คน 2) ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 72 คน 3) คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 12 คน 4) เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 30 คน และผู้ปกครองนักเรียนเครือข่ายนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 30 คน รวม 60 คน 5) นักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 508 คน และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 504 คน รวม 1012 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประเมินโครงการการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ปีการศึกษา 2560 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน แล้วสุ่มกลุ่มตัวอย่างแต่ละชั้นภูมิโดยการจับฉลากเลขลำดับรายชื่อจากกลุ่มประชากร ให้ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างตามขนาดจำนวนกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ 1) คณะผู้บริหาร จำนวน 8 คน 2) ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 66 คน 3) คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 12 คน 4) เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 26 คน และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 26 คน รวม 52 คน 5) นักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 146 คน และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 145 คน รวม 291 คน ด้านตัวแปร ตัวแปรต้น ได้แก่ การประเมินโครงการการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ตามรูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การประเมินด้านบริบท เป็นการประเมินสภาพต่างๆ รอบตัวที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วรวมทั้งความเหมาะสมความจำเป็นที่ต้องจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ขั้นตอนที่ 2 การประเมินด้านปัจจัยป้อน เป็นการประเมินองค์ประกอบที่สำคัญต่อการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ขั้นตอนที่ 3 การประเมินด้านกระบวนการ เป็นการประเมินการดำเนินการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ขั้นตอนที่ 4 การประเมินด้านผลผลิต เป็นการประเมินผลของการจัดกิจกรรมการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา ตัวแปรตาม ได้แก่ ระดับการประเมินโครงการ เครื่องมือการประเมิน ได้แก่ แบบประเมิน เรื่อง การประเมินโครงการการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 41 รายการ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ได้ผลการประเมิน ดังนี้
    ผู้บริหาร ประเมินการกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง โดยภาพรวม และตามขั้นตอนด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากที่สุด
    ครูและบุคลากรทางการศึกษา ประเมินการกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง โดยภาพรวม และตามขั้นตอนด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากทุกรายการ
    คณะกรรมการสถานศึกษา ประเมินการกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง โดยภาพรวม และตามขั้นตอน ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากส่วนด้านบริบท อยู่ในระดับมากที่สุด
    เครือข่ายผู้ปกครอง ประเมินการกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง โดยภาพรวม และตามขั้นตอนด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากทุกรายการ
    นักเรียน ประเมินการกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง โดยภาพรวม และตามขั้นตอน ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต ส่วนด้านบริบท อยู่ในระดับมากที่สุด
    สรุปผลภาพรวมทั้งหมด การประเมินการกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง โดยภาพรวม และตามขั้นตอนด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากทุกรายการ

บทนำ
    ที่มาและความสำคัญของการประเมินโครงการ
    โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม เป็นโรงเรียนที่ตระหนักถึงความสำคัญที่จะน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไปใช้ในการจัดอยู่อย่างพอเพียงอย่างจริงจังและต่อเนื่อง พระอัจฉริยะภาพในการมองเห็นถึงผลของการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม กระบวนการของความเปลี่ยนแปลงจะมีความสลับซับซ้อนจนยากที่จะอธิบายในเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต่างเป็นปัจจัยเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ทั้งการเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญทางวัตถุ และสาธารณูปโภค ระบบสื่อสารที่ทันสมัย หรือการขยายปริมาณและกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น ผลด้านบวกเหล่านี้ ส่วนใหญ่กระจายไปถึงคนในชนบท หรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมน้อย แต่ว่าด้านผลลบที่เกิดขึ้น เช่น ชนบทเกิดความอ่อนแอ ต้องพึ่งพิงตลาดและพ่อค้าคนกลางในการสั่งสินค้าทุน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการรวมกลุ่มกันตามประเพณีเพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมีอยู่แต่เดิมแตกสลายลง ภูมิความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและสั่งสมปรับเปลี่ยนกันมาถูกลืมเลือนและเริ่มสูญหายไป สิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ ความพอเพียงในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ทำให้คนไทยสามารถพึ่งตนเองและดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีศักดิ์ศรีมาโดยตลอด ซึ่งนับว่าเป็นศักยภาพพื้นฐานที่คนไทยและสังคมไทยเคยมีอยู่แต่เดิม ต้องถูกกระทบกระเทือนจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วย ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจจากปัญหาฟองสบู่และปัญหาความอ่อนแอของชนบท รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนแต่เป็นข้อพิสูจน์และยืนยันปรากฏการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี
    ผลจากการดำเนินการอยู่อย่างพอเพียงของโรงเรียนคีรีมาศพิทยาคมข้างต้น ส่งผลให้โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม ผ่านการประเมินเป็นสถานศึกษาพอเพียง กระทรวงศึกษาธิการ ในปีการศึกษา 2557 แต่โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคมยังดำเนินการอยู่อย่างพอเพียงต่อไป จนเกิดความก้าวหน้า สามารถเป็นแบบอย่าง ขยายผลสร้างเครือข่าย และเป็นแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนหรือหน่วยงานที่สนใจจะดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเป็นอย่างดี จนมีคุณภาพระดับผ่านเกณฑ์การประเมินเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ในปีการศึกษา 2559 และเป็นศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณในเวลาต่อมา อันเป็นเกียรติยศที่โรงเรียนและชุมชนของ
อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ภูมิใจโรงเรียนคีรีมาศพิทยาคมเป็นอย่างมาก
    แต่โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม ไม่ได้หยุดนิ่งจากรางวัลเกียรติยศที่ได้รับดังกล่าว ได้นำแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (2554) มาพัฒนาการสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนอย่างต่อเนื่องจริงจัง โดยกำหนดให้จัดสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงให้แก่นักเรียนทุกระดับชั้น กำหนดกิจกรรมไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา ในรูปของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กำหนดเนื้อหา จุดประสงค์และรูปแบบกิจกรรม จัดทำปฏิทินของกิจกรรมอย่างชัดเจน มีเอกสารประกอบกิจกรรม ในรูปของใบกิจกรรม แผนการจัด
การเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนรูปฐานการเรียนรู้แบบบูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ จนมีผลงานนักเรียนเป็น
เรื่องเล่า การถอดรหัส การถอดบทเรียน และโครงงานที่หลากหลาย รวมถึงการนำผลงานนักเรียนไปเผยแพร่สู่โรงเรียนครือข่าย ชุมชน ได้อย่างภาคภูมิใจ
    ในปีการศึกษา 2560 โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม มีวัตถุประสงค์ยืนยันผลการประเมินโครงการการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคมให้ชัดเจน เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ชุมชน และสถานศึกษาอื่นที่ต้องการศึกษาแหล่งเรียนรู้ในการดำเนินการของโรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม มากขึ้น จึงนำแนวทางการประเมินโครงการตามรูปแบบของซิปมาใช้ในการพิจารณาการดำเนินการทุกขั้นตอน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวน และด้านผลลัพธ์ ทั้งเน้นการมีส่วนร่วม กำกับติดตาม เสนอแนะ แก้ไขปรับปรุงระหว่างการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผลการประเมินเป็นที่ผลที่น่าเชื่อถือ เชื่อมั่นได้อย่างแท้จริง รวมทั้งยังเป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการ กิจกรรมของโรงเรียนด้านอื่นต่อไปได้อีกด้วย

    วัตถุประสงค์ของการวิจัย
    เพื่อการประเมินโครงการการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม แบ่งขั้นตอนการประเมินโครงการ ออกเป็น 4 ขั้นตอน ตามรูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) ดังนี้
    ขั้นตอนที่ 1 การประเมินด้านบริบท เพื่อประเมินสภาพต่างๆ รอบตัวนักเรียนที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งความเหมาะสมความจำเป็นที่ต้องจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง
    ขั้นตอนที่ 2 การประเมินด้านปัจจัยป้อน เพื่อประเมินองค์ประกอบที่สำคัญต่อการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม
    ขั้นตอนที่ 3 การประเมินด้านกระบวนการ เพื่อประเมินการดำเนินการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม
    ขั้นตอนที่ 4 การประเมินด้านผลผลิต เพื่อประเมินผลของการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม

ขอบเขตของการประเมินโครงการ
    ขอบเขตด้านเนื้อหาของการประเมินโครงการ ได้แก่ การประเมินผลของโครงการการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม แบ่งการประเมินออกเป็น 4 ขั้นตอน ตามรูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) ดังนี้
    ขั้นตอนที่ 1 การประเมินด้านบริบท เป็นการประเมินสภาพต่างๆ รอบตัวนักเรียนที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งความเหมาะสมความจำเป็นที่ต้องจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง    
    ขั้นตอนที่ 2 การประเมินด้านปัจจัยป้อน เป็นการประเมินองค์ประกอบที่สำคัญต่อการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง
    ขั้นตอนที่ 3 การประเมินด้านกระบวนการ เป็นการประเมินการดำเนินการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง
    ขั้นตอนที่ 4 การประเมินด้านผลผลิต เป็นการประเมินผลของการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง

    ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่างของผู้ประเมินกิจกรรม
    ประชากร ได้แก่ ผู้ประเมินโครงการการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม ปีการศึกษา 2560 จำแนกตามหน้าที่ของผู้ประเมิน ดังนี้
        1. คณะผู้บริหาร ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการและผู้ช่วยผู้อำนวยการ โรงเรียนคีรีมาศ
พิทยาคม จำนวน 8 คน
        2. ครูและบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วยครูกับ พนักงานราชการและครูอัตราจ้าง จำนวน 72 คน
        3. คณะกรรมโรงเรียนของโรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม จำนวน 12 คน
        4. เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน ประกอบด้วย เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 30 คน และเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 30 คน รวมทั้งสิ้น 60 คน
        5. นักเรียน ประกอบด้วย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 508 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย จำนวน 504 คน รวม 1012 คน
    กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประเมินโครงการการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม ปีการศึกษา 2560 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) แล้วสุ่มกลุ่มตัวอย่างแต่ละชั้นภูมิโดยการจับฉลากเลขลำดับรายชื่อจากกลุ่มประชากร ให้ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างตามขนาดจำนวนกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้
        1. คณะผู้บริหาร ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม จำนวน 8 คน
        2. ครูและบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วยครูกับพนักงานราชการและครูอัตราจ้าง จำนวน 66 คน
        3. คณะกรรมโรงเรียนของโรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม จำนวน 12 คน
        4. ผู้ปกครองนักเรียนเครือข่าย ประกอบด้วย ผู้ปกครองนักเรียนเครือข่ายนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 26 คน และผู้ปกครองนักเรียนเครือข่ายนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 26 คน รวม 52 คน
        5. นักเรียน ประกอบด้วย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 146 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย จำนวน 145 คน รวม 291 คน
    ขอบเขตด้านตัวแปรของการประเมินโครงการ
        ตัวแปรต้น ได้แก่ การประเมินโครงการการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม แบ่งตัวแปรต้นออกเป็น 4 ขั้นตอน ตามรูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) ดังนี้
            ขั้นตอนที่ 1 การประเมินด้านบริบท เป็นการประเมินสภาพต่างๆ รอบตัวนักเรียนที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งความเหมาะสมความจำเป็นที่ต้องจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง    
            ขั้นตอนที่ 2 การประเมินด้านปัจจัยป้อน เป็นการประเมินองค์ประกอบที่สำคัญต่อการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง
            ขั้นตอนที่ 3 การประเมินด้านกระบวนการ เป็นการประเมินการดำเนินการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง
            ขั้นตอนที่ 4 การประเมินด้านผลผลิต เป็นการประเมินผลของการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง
        ตัวแปรตาม ได้แก่ ระดับการประเมินโครงการการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม แบ่งตัวแปรตาม ออกเป็น 5 ระดับ ตามมาตราการวัดของลิเคิร์ท (Likert Scale) ดังนี้
            5 หมายถึง ผู้ประเมิน ประเมินรายการการอยู่ในระดับ มากที่สุด
            4 หมายถึง ผู้ประเมิน ประเมินรายการการอยู่ในระดับ มาก
            3 หมายถึง ผู้ประเมิน ประเมินรายการการอยู่ในระดับ ปานกลาง
            2 หมายถึง ผู้ประเมิน ประเมินรายการการอยู่ในระดับ น้อย
            1 หมายถึง ผู้ประเมิน ประเมินรายการการอยู่ในระดับ น้อยที่สุด
    ขอบเขตด้านเวลาของการประเมินกิจกรรม ได้แก่ เวลาในการดำเนินกิจกรรมประเมินโครงการการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม เป็นเวลา 1 ภาคเรียน ปีการศึกษา 2560
    ขอบเขตด้านพื้นที่ดำเนินการประเมินกิจกรรม ได้แก่ โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม โรงเรียนเครือข่าย และชุมชนต่างๆ ในเขตบริการทางการศึกษา
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบประเมิน เรื่อง การประเมินโครงการการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 41 รายการ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์ทางสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

    ผลการวิจัย
    ได้ผลการประเมิน ดังตาราง
ตาราง ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับการประเมินโครงการการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะ
อยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาใน
สถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม โดยรายผู้ประเมินและภาพรวม

ผู้ประเมิน    ขั้นตอนของการประเมิน    X
SD.    ระดับการประเมิน
ผู้บริหาร    ด้านบริบท    4.31    0.74    มาก
    ด้านปัจจัย    4.27    0.79    มาก
    ด้านกระบวนการ    4.44    0.69    มาก
    ด้านผลผลิต    4.51    0.81    มากที่สุด
    ภาพรวม    4.38    0.78    มาก
ครูและบุคลากรทางการศึกษา    ด้านบริบท    4.45    0.65    มาก
    ด้านปัจจัย    4.38    0.68    มาก
    ด้านกระบวนการ    4.41    0.66    มาก
    ด้านผลผลิต    4.39    0.68    มาก
    ภาพรวม    4.41    0.69    มาก
คณะกรรมการ
สถานศึกษา    ด้านบริบท    4.52    0.64    มากที่สุด
    ด้านปัจจัย    4.32    0.69    มาก
    ด้านกระบวนการ    4.42    0.63    มาก
    ด้านผลผลิต    4.40    0.70    มาก
    ภาพรวม    4.42    0.68    มาก
เครือข่ายผู้ปกครอง    ด้านบริบท    4.46    0.66    มาก
    ด้านปัจจัย    4.34    0.72    มาก
    ด้านกระบวนการ    4.48    0.64    มาก
    ด้านผลผลิต    4.30    0.77    มาก
    ภาพรวม    4.40    0.72    มาก
นักเรียน    ด้านบริบท    4.50    0.65    มากที่สุด
    ด้านปัจจัย    4.34    0.71    มาก
    ด้านกระบวนการ    4.41    0.67    มาก
    ด้านผลผลิต    4.48    0.70    มาก
    ภาพรวม    4.43    0.70    มาก
สรุปผลภาพรวม
ทั้งหมด    ด้านบริบท    4.38    0.78    มาก
    ด้านปัจจัย    4.41    0.69    มาก
    ด้านกระบวนการ    4.42    0.68    มาก
    ด้านผลผลิต    4.46    0.66    มาก
    ภาพรวมทั้งหมด    4.42    0.73    มาก

    ผู้ประเมินการการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม ดังนี้
    ผู้บริหาร ประเมินการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ย มีค่าเท่ากับ 4.38 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีค่าเท่ากับ 0.78 โดยประเมินเรียงตามขั้นตอนด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต ค่าเฉลี่ย มีค่าเท่ากับ 4.31 4.27 4.44 และ 4.51 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีค่าเท่ากับ 0.74 0.79 0.69 และ 0.81 ตามลำดับ
    ครูและบุคลากรทางการศึกษา ประเมินการกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ย มีค่าเท่ากับ 4.41 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีค่าเท่ากับ 0.69 โดยมีผลการประเมินเรียงตามขั้นตอนด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต ค่าเฉลี่ย มีค่าเท่ากับ 4.45 4.38 4.41 และ 4.39 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีค่าเท่ากับ 0.65 0.68 0.66 และ 0.68 ตามลำดับ
    คณะกรรมการสถานศึกษา ประเมินการกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ย มีค่าเท่ากับ 4.42 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีค่าเท่ากับ 0.68 โดยมีผลการประเมินเรียงตามขั้นตอนด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต ค่าเฉลี่ย มีค่าเท่ากับ 4.52 4.32 4.42 และ 4.40 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีค่าเท่ากับ 0.64 0.69 0.63 และ 0.70 ตามลำดับ
    เครือข่ายผู้ปกครอง ประเมินการกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ย มีค่าเท่ากับ 4.40 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีค่าเท่ากับ 0.72 โดยมีผลการประเมินเรียงตามขั้นตอนด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต ค่าเฉลี่ย มีค่าเท่ากับ 4.46 4.34 4.48 และ 4.30 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีค่าเท่ากับ 0.66 0.72 0.64 และ 0.77 ตามลำดับ
    นักเรียน ประเมินการกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ย มีค่าเท่ากับ 4.43 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีค่าเท่ากับ 0.70 โดยมีผลการประเมินเรียงตามขั้นตอนด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต ค่าเฉลี่ย มีค่าเท่ากับ 4.50 4.34 4.41 และ 4.48 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีค่าเท่ากับ 0.65 0.71 0.67 และ 0.70 ตามลำดับ
    สรุปผลภาพรวมทั้งหมด การประเมินการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ย มีค่าเท่ากับ 4.42 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีค่าเท่ากับ 0.73 โดยมีผลการประเมินเรียงตามขั้นตอนด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต ค่าเฉลี่ย มีค่าเท่ากับ 4.38 4.41 4.42 และ 4.46 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีค่าเท่ากับ 0.78 0.69 0.68 และ 0.66 ตามลำดับ
    เมื่อนำค่าเฉลี่ยมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ระดับการประเมิน พบว่า
    ผู้บริหาร ประเมินการกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม โดยภาพรวม และตามขั้นตอนด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากที่สุด
    ครูและบุคลากรทางการศึกษา ประเมินการกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม โดยภาพรวม และตามขั้นตอนด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากทุกรายการ
    คณะกรรมการสถานศึกษา ประเมินการกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม โดยภาพรวม และตามขั้นตอน ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากส่วนด้านบริบท อยู่ในระดับมากที่สุด
    เครือข่ายผู้ปกครอง ประเมินการกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม โดยภาพรวม และตามขั้นตอนด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากทุกรายการ
    นักเรียน ประเมินการกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม โดยภาพรวม และตามขั้นตอน ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต ส่วนด้านบริบท อยู่ในระดับมากที่สุด
    สรุปผลภาพรวมทั้งหมด การประเมินการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม โดยภาพรวม และตามขั้นตอนด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต อยู่ในระดับมากทุกรายการ

    การอภิปรายผลการประเมินโครงการ
    การที่ผู้ประเมิน ประเมินโครงการการกิจกรรมสร้างเสริมคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนตามแนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษา โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคม โดยภาพรวม และตามขั้นตอนการประเมินที่แบ่งการประเมินโครงการออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ด้านบริบท ขั้นตอนที่ 2 ด้านปัจจัย ขั้นตอนที่ 3 ด้านกระบวนการและขั้นตอนที่ 4 ด้านผลผลิต อยู่ในระดับมาก เป็นเพราะ แนวทางการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการศึกษาในสถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดให้โรงเรียนคีรีมาศพิทยาคมดำเนินการนั้น ทางโรงเรียนได้ดำเนินการอย่างเคร่งครัดทุกขั้นตอน รวมทั้งใช้หลักการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนทุกขั้นตอนการดำเนินอย่างต่อเนื่อง ทั้งการประชุมร่วมกัน การเข้าร่วมกิจกรรมกับโรงเรียนโดยตรง แสดงถึงแนวทางดังกล่าวเป็นแนวทางที่สามารถนำมาปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ผลการประประเมินนี้สอดคล้องกับงานประเมินของ
    ขวัญนภา อุณหกานต์ ที่ศึกษาการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนสวนแตงวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบจำลองซิป (CIPP Model) พบว่า ด้านบริบท ผลการประเมินความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและของโรงเรียน โครงการสอดคล้องกับสภาพปัญหาของโรงเรียนในปัจจุบันและความชัดเจน ผู้บริหาร บุคลากร นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีความเข้าใจ เห็นความสำคัญของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงและโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า บุคลที่มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานและสอดคล้องกับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านกระบวนการ โรงเรียนได้ดำเนินการตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียง เป็นไปตามแผนปฏิบัติการที่วางไว้ มีการวางแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน บุคลากรผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในวางแผน การดำเนินงานครบทุกกิจกรรม มีการประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานของโครงการ และนำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านผลผลิต นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ปฏิบัติตนและดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมาก
    กมลานันท์ บุญกล้า ที่ศึกษาการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองปลาซิว สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 พบว่า การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านสภาวะแวดล้อม ผลการประเมินพบว่ามีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ด้านปัจจัยนําเข้า มีความเพียงพอ เหมาะสม อยู่ในระดับมาก ด้านกระบวนการดําเนินงาน อยู่ในระดับมาก ด้านผลผลิต อยู่ในระดับมาก
    จิราพร ผุยผง ศึกษาการพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 พบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก แต่แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสื่อและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับหลักด้านการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการวัดผลและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา ผลการประเมินความเหมาะสมและเป็
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^