LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง     รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสร้างสายใยรักศิษย์ – ลูก
        โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย ปีการศึกษา 2560
ผู้รายงาน    นายพงศกร ไพทูรย์
ปีที่รายงาน    ปีการศึกษา 2560

บทสรุป

รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสร้างสายใยรักศิษย์ – ลูก โรงเรียน บ้านหนองบัวน้อย ปีการศึกษา 2560
มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ประเมินบริบทของโครงการ เกี่ยวกับความต้องการ ความจำเป็นความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ และความชัดเจนของเป้าหมายของการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสร้างสายใยรักศิษย์ – ลูก โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย ปีการศึกษา 2560 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการ เกี่ยวกับความพร้อมของสถานศึกษาความเหมาะสมของงบประมาณ และความเหมาะสมของกิจกรรมของการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสร้างสายใยรักศิษย์ – ลูก โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย ปีการศึกษา 2560 3) เพื่อประเมินกระบวนการการดำเนินโครงการ เกี่ยวกับกระบวนการวางแผนการดำเนินการ และการนิเทศติดตามและประเมินผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสร้างสายใยรักศิษย์ – ลูก โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย ปีการศึกษา 2560 4) เพื่อประเมินผลผลิตของการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสร้างสายใยรักศิษย์ – ลูก โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย ปีการศึกษา 2560 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างในการประเมินประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 115 คน ประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 55 คน เพราะสามารถให้ข้อมูลได้ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) ครู จำนวน 6 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 53 คน (จำนวนผู้ปกครองน้อยกว่านักเรียน เพราะว่าปกครองหนึ่งคนเป็นผู้ปกครองนักเรียนมากกว่าหนึ่งคน) ได้มาเช่นเดียวกับจำนวนนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 7 ฉบับ ประกอบด้วยแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่น ระหว่าง 0.80 – 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
    1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการประเมินบริบทของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสร้างสายใยรักศิษย์ – ลูก โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน และครู พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.71, σ = 0.46) ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดแต่ละด้าน พบว่า ด้านการส่งต่อ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.83, = .39) ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ด้านการป้องกันช่วยเหลือและแก้ไข อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.78, = .44) ผ่านเกณฑ์การประเมิน และด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.63, = .49) ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
    2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสร้างสายใยรักศิษย์ – ลูก โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อย ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของความคิดเห็นของครู พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.74, σ = 0.44) ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดแต่ละด้าน พบว่า ด้านผู้ปกครองมีความพร้อม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (µ = 4.80, = .41) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ด้านผู้บริหารเป็นผู้นำในการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.73, = .45) ผ่านเกณฑ์การประเมินและด้านโรงเรียนมีสื่อ เครื่องมือ และนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับด้านครูมีเจตคติที่ดีและมีความสามารถในการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.67, = .48) ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
    3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการดำเนินโครงการของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสร้างสายใยรักศิษย์ – ลูก โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อยปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (µ = 4.50, = .50) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดแต่ละด้าน พบว่า ด้านการผดุงระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (µ = 4.53, = .51) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ด้านกระบวนการวางแผน อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.51, = .50) ผ่านเกณฑ์การประเมินและด้านกระบวนการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (µ= 4.49, = .50) อยู่ในระดับมากผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
    4.      ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสร้างสายใยรักศิษย์ – ลูก โรงเรียนบ้านหนองบัวน้อยปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (µ = 4.51, = .53) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดแต่ละด้าน พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (µ = 4.55, = .52) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ความพึงพอใจของครู อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.50, = .51) ผ่านเกณฑ์การประเมินและความพึงพอใจของผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (µ= 4.48, = .53) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด

ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ผู้บริหารควรให้ความสําคัญและเป็นผู้นําในการดําเนินโครงการระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียนรวมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมและตรวจสอบกระบวนการดําเนินโครงการในแต่ละ กิจกรรม รวมทั้งจัดให้มีการอบรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อให้ความรู้และเป็นการ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
1.2 โรงเรียนควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน โดยการ จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณลักษณะดังกล่าวในโรงเรียน
1.3 โรงเรียนควรจัดให้มีการสอนซ่อมเสริมแก่นักเรียนที่เรียนอ่อนหรือเรียนช้า เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการเรียนแก่นักเรียน
1.4 ฝ่ายปกครองควรจัดกิจกรรมที่เน้นฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัยมากขึ้น ควร ส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด เพื่อฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัยมากขึ้น
1.5 ฝ่ายแนะแนวควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพจิตดี โดยการจัด กิจกรรมแนะแนวให้คําปรึกษา และนันทนาการ
1.6 สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 สามารถนํา ผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัด ต่อไป
    
2 ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินโครงการหรือวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างดําเนินการโครงการระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียน อย่างละเอียดในแต่ละกิจกรรม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ส่งผลต่อความสําเร็จของ โครงการ
2.2 ควรประเมินผลผลิตของโครงการในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้ ข้อมูลที่แสดงถึงผลสําเร็จของโครงการ รวมทั้งควรศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อระบบ ดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนของอําเภอที่เหลือในสังกัด
2.3 ควรศึกษาแนวทางในการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน
2.4 ควรทําการวิจัยการประเมินระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนที่จัด การศึกษาให้กับนักเรียนกลุ่มด้อยโอกาสและนักเรียนเรียนรวม
2.5 ควรศึกษาผลกระทบของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียน ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^