การพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการ
โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ชื่อผู้วิจัย นางสาวจิตนภา ไชยเทพา
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคมและเพื่อพัฒนาความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยดำเนินการพัฒนา 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เป็นขั้นตอนการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม และศึกษาความต้องการในการพัฒนาความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม ระยะที่ 2 การพัฒนาความสามารถของครูโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม ในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นการพัฒนาความสามารถในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และผู้สอนนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติจริงในห้องเรียน กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา คือ ครูผู้สอน จำนวน 33 คน โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 วิเคราะห์ข้อมูลใช้การทดสอบค่า t-test และโปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัย พบว่า
1.สภาพปัจจุบันปัญหาการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนพบว่า 1) ด้านองค์ความรู้ความเข้าใจของครูโรงเรียนจัดอบรมครูให้มีความรู้ในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน แต่ครูเห็นว่าความรู้ที่มีอยู่ไม่สามารถนำมาสู่การปฏิบัติจริงได้ 2) ด้านเวลาสำหรับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนครูดำเนินการทำนอกเวลาการเรียนการสอนตามแผนมีงานประจำในหน้าที่มาก 3) ด้านเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์สำหรับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน มีการอำนวยความสะดวกในการสร้างสื่อให้บริการด้านการพิมพ์เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน แต่เอกสาร ตำรา วารสาร งานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนยังไม่เพียงพอ และ 4) ด้านการส่งเสริมสนับสนุนจากผู้บริหารมีการให้เงินทุนในการเข้าประชุม อบรมสัมมนา ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลซึ่งกันและกัน แต่ขาดการนิเทศติดตามเป็นระบบ
2. ความต้องการในการพัฒนา พบว่า ครูเคยผ่านการอบรมวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนทุกคน แต่ไม่สามารถนำความรู้มาสู่การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนได้ จึงทำให้ครูมีความต้องการเข้ารับการพัฒนาทุกคน เนื้อหาต้องการคือ ความรู้ในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยเฉพาะการเขียนรายงานการวิจัย และการประเมินผลการแก้ปัญหา การฝึกอบรมควรเป็นการฝึกปฏิบัติมีรูปแบบที่ง่ายต่อการเข้าใจ เวลาควรอยู่ระหว่าง 3 วัน และควรมีผู้รู้ให้การนิเทศติดตามเป็นระยะ
3. ผลพัฒนาความสามารถของครูในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนเจตคติต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ พบว่า ครูผู้สอนที่ผ่านการพัฒนาสามารถทำการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนได้เสร็จครบทุกกระบวนการ คิดเป็นร้อยละ 100 และคุณภาพของรายงานการทำการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนส่วนใหญ่มีระดับคุณภาพสูงมาก คิดเป็นร้อยละ 45.45
3.งานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ที่เคยเสนอเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อขอรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรหรือเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรม วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต “การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5” มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย พ.ศ.2552
4. ผลงานทางวิชาการที่เคยได้รับอนุมัติเพื่อกำหนดตำแหน่งและแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนในระดับที่สูงขึ้น เรื่อง “รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะลูกเสือ กิจกรรมลูกเสือเนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ เครื่องหมายลูกเสือโลก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาข่าวิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม"