การพัฒนาครูผู้สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ)
1.ชื่อเรื่อง การพัฒนาครูผู้สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ผู้ศึกษา นางสาวจิตนภา ไชยเทพา
ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาครูผู้สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์เพื่อครูผู้สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ให้มีความรู้ทักษะตามกรอบการพัฒนา 3 ด้าน คือ 1) มีความรู้ทักษะเกี่ยวกับการจัดแผนทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) 2) สามารถจัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) 3) สามารถนำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) ไปใช้ได้โดยใช้หลักการวิจัยการปฏิบัติ (Action Research Principle) ซึ่งดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติตามแผน (Action) การสังเกต (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลสามเส้า (Triangulation Technique) และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยาย (Narrative Form)
สภาพปัจจุบันการดำเนินงานและปัญหาในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม คือ ครูผู้สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) ทั้งที่มีวุฒิและไม่มีวุฒิทางลูกเสือ ส่วนใหญ่ขาดความรู้ทักษะในการจัดทำและนำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) ไปใช้ ซึ่งเมื่อดำเนินการพัฒนาโดยใช้กลยุทธ์การอบรมเชิงปฏิบัติการความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) และกลยุทธ์การนิเทศการจัดทำและนำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) ไปใช้ผลการดำเนินการพัฒนาวงรอบที่ 1 กลุ่มเป้าหมายทุกคนมีความรู้ทักษะเกี่ยวกับการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) ได้จำนวน 18 แผน ซึ่งประกอบด้วย 1) ความเข้าใจเรื่องราวของกิจกรรมลูกเสือ 2) ระเบียบแถวของลูกเสือ 3) คำปฏิญาณกฎของลูกเสือ 4) เงื่อนและประโยชน์ของเงื่อนและสามารถนำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) ไปใช้ แต่กลุ่มเป้าหมายยังมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเกม / เพลงที่ยังจัดกิจกรรมได้ไม่ดีเท่าที่ควร กลุ่มเป้าหมายจึงประชุมร่วมกัน เพื่อทำแผนการจัดทำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) ไปพัฒนาในวงรอบที่ 2 โดยใช้กลยุทธ์นิเทศการจัดทำและนำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) ไปใช้ซึ่งผลการนิเทศ กลุ่มเป้าหมายทุกคนมีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ สามารถจัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) ได้ โดยการเพิ่มเติมความเร้าใจที่กิจกรรมเกม / เพลง และสามารถจัดกิจกรรมเกม / เพลงได้ดียิ่งขึ้น
ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า การดำเนินการพัฒนาครูผู้สอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ) โดยใช้กลยุทธ์การอบรมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสม