ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาแบบกลวิธีสืบสอบ
วิจารณญาณและความคงทนในการเรียนรู้ เรื่องย้อนรอยประวัติศาสตร์ไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางสุวดี หงส์พันธ์
ปีการวิจัย พ.ศ. 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ เป็น การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) โดย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน ของ นักเรียนกลุ่มที่เรียน วิชาสังคมศึกษา ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยกลวิธีสืบสอบ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ระหว่างกลุ่มที่เรียนวิชาสังคมศึกษาด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย กลวิธีสืบสอบ กับกลุ่ม ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบปกติ 3) เพื่อเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนรู้ ระหว่างกลุ่มที่เรียน วิชาสังคมศึกษาด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย กลวิธีสืบสอบ กับ กลุ่มที่เรียนด้วยการจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลวิธีสืบสอบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวนนักเรียน 60 คนซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มทดลองที่ใช้วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลวิธีสืบสอบ จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมที่ใช้วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาด้วยกลวิธีสืบสอบ และแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาแบบปกติ ใช้เวลาทดลองจำนวน 16 แผน รวม 16 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบวัดความคงทนในการเรียนรู้และ แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลวิธีสืบสอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (X ̅ )ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการคิดวิจารณญาณด้วยกลวิธีสืบสอบสูงกว่าแบบปกติ
3) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความคงทนในการเรียนรู้ ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย
วิธีสืบสอบพบว่าอยู่ในระดับดีมาก