การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสืบ
สามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่องสารละลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย สายใจ แก้วอ่อน
ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ปีที่วิจัย 2557
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่องสารละลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้ ด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สารละลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ เรื่องสารละลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ เรื่องสารละลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง ม.102 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก ซึ่งกำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ได้จากการสุ่มอย่างง่าย(Sample Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก 1 ห้องเรียน จากจำนวน 6 ห้องเรียน จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) แบบไม่อิสระ(Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้ ด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่าสภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้ ด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ครูออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยสอนเนื้อหาสาระควบคู่กับการฝึกคิดวิเคราะห์
2. ผลการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สารละลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1พบว่า ความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง สารละลาย มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมในภาพรวมในระดับมาก
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ เรื่องสารละลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1พบว่า ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ เรื่องสารละลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก