LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

รายงานผลการพัฒนากิจกรรมการเล่นพื้นบ้านเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม

usericon

ชื่อเรื่อง         รายงานผลการพัฒนากิจกรรมการเล่นพื้นบ้านเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม
ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนวัดแคนอก (คณะราษฎรบำรุง 1)
ผู้รายงาน     นางสาวนะภา เสนสาย
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนวัดแคนอก (คณะราษฎรบำรุง 1)
กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี
ปีที่พิมพ์ 2561

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เสร้างกิจกรรมการเล่นพื้นบ้านเพื่อทักษะทางสังคมของเด็กชั้นอนุบาลปีที่2 โรงเรียนวัดแคนอก (คณะราษฎรบำรุง 1) ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) พัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนวัดแคนอก (คณะราษฎรบำรุง 1) ด้วยกิจกรรมการเล่นพื้นบ้าน และ3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางสังคมของเด็กชั้นอนุบาลปีที่2 โรงเรียนวัดแคนอก (คณะราษฎรบำรุง 1) ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเล่นพื้นบ้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนวัดแคนอก (คณะราษฎรบำรุง 1) กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 17 คน คัดเลือกโดยคัดเลือกโดยวิธีเลือกแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยวิธีจับฉลากโดยมีหน่วยสุ่มเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ กิจกรรมการเล่นพื้นบ้านจำนวน 18 กิจกรรม มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 ถือว่ามีความเหมาะสมมากที่สุด แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมการเล่นพื้นบ้าน จำนวน 19 แผน ที่ผ่านการตรวจหาคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.17 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ถือว่าแผนการจัดประสบการณ์มีความสอดคล้องเหมาะสมมาก แบบสังเกตทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยมีจำนวน 6 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างระดับพฤติกรรมกับจุดประสงค์อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า
จากการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนวัดแคนอก (คณะราษฎรบำรุง 1)ที่ได้รับจากการพัฒนาโดยใช้กิจกรรมการเล่นพื้นบ้าน สรุปผลได้ ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเล่นพื้นบ้านเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กชั้น
อนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนวัดแคนอก (คณะราษฎรบำรุง 1) ตามเกณฑ์ 80/80 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 95.70/96.08
2. เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนวัดแคนอก (คณะราษฎรบำรุง 1) มีคะแนน
ทักษะทางสังคมอยู่ในระดับ ดี
3. เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนวัดแคนอก (คณะราษฎรบำรุง 1) หลังการจัดกิจกรรมการเล่นพื้นบ้านมีคะแนนทักษะทางสังคมเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเล่นพื้นบ้าน ทั้งทักษะทางสังคมรายด้าน และทักษะทางสังคมโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเป็นแนวทางการจัดประสบการณ์สำคัญที่พัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยได้เนื่องจากการเล่นถือเป็นหัวใจสำคัญของเด็กและยังช่วยเรื่องพัฒนาการของเด็กในหลาย ๆด้านด้วยกัน ทั้งพัฒนาการทางด้านร่างกาย ด้านปัญญา ด้านภาษา ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ตลอดจนพัฒนาการทางด้านจิตใจ เด็ก ๆจะเรียนรู้อย่างมีความสุขโดยผ่านการเล่นอันเป็นธรรมชาติการเรียนรู้ของพวกเขากิจกรรมดังกล่าวนอกจากเด็กจะได้รับความสนุกสนานแล้วยังเกิดการเรียนรู้ทางสังคม วัฒนธรรม การอยู่ร่วมกันกฎกติกา มารยาทในการเล่น ท้องถิ่นแวดล้อมรอบตัวเด็กควบคู่กันด้วย
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^