รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนรูปสระที่เปลี่ยนแปลง สำหรับนักเ
ผู้รายงาน นางสุพิศ แสดงมณี
สถานศึกษา โรงเรียนนิคมพัฒนาผัง ๖ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล
ปีที่ทำการศึกษา ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนรูปสระที่เปลี่ยนแปลง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนรูปสระที่เปลี่ยนแปลง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้ประกอบ
การใช้แบบฝึกทักษะการเขียนรูปสระที่เปลี่ยนแปลง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนนิคมพัฒนาผัง ๖ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม จำนวนนักเรียน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการเขียนรูปสระที่เปลี่ยนแปลง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนรูปสระที่เปลี่ยนแปลง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าทางสถิติได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x-bar)
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติการทดสอบค่า t-test แบบ Independent
ผลการพัฒนาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการเขียนรูปสระที่เปลี่ยนแปลง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 92.63/88.57 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนรูปสระที่เปลี่ยนแปลง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนที่จัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนรูปสระที่เปลี่ยนแปลง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (x-bar= 4.41, S.D = 0.69)