LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิช

usericon

บทคัดย่อ

การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการเพื่อพัฒนาหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 3 ประการ คือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษในปัจจุบันของผู้เรียนระดับความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้ภาษา (Learning needs) และในภาษาเป้าหมาย (Target needs) และการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ตามการรับรู้ของผู้เรียน ผู้สอนและผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร และศิษย์เก่าโรงเรียนนครสวรรค์ 2) ระบุหรือกำหนดความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการทั้งในทักษะหลักและทักษะย่อยของผู้เรียน (need identification) ตามการรับรู้ของผู้เรียน ผู้สอนและผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร และศิษย์เก่าโรงเรียนนครสวรรค์ และ 3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนครสวรรค์ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักที่จะประเมินความตองการจำเป็นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร และศิษย์เก่าโรงเรียนนครสวรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ ฃสำหรับผู้เรียน แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ สำหรับ ผู้สอนและผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร และศิษย์เก่าโรงเรียนนครสวรรค์ และแผนภูมิผังก้างปลา วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้การหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ด้วยสูตร PNImodified

ผู้วิจัยได้ดำเนินการ 1) วิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ (learning situation analysis) ในการเรียนภาษาอังกฤษของผู้เรียน 2) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชการ (needs identification) ตามการรับรู้ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้สอนและผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร และศิษย์เก่าโรงเรียนนครสวรรค์ 3) จัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในด้านทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการที่ต้องการพัฒนา จำแนกตามทักษะย่อย ทั้งในการเรียนรู้ภาษา (learning needs) และภาษาเป้าหมาย (target needs) ด้วยสูตร Priority Needs Index (PNI) สูตร PNImodified = (I-D)/D 4)นำข้อมูลสารสนเทศดังกล่าวมาพิจารณาร่วมกับข้อมูลที่ได้จากแผนผังก้างปลาแล้วลงข้อสรุปในประเด็นความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ 5) จัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการอีกครั้ง เพื่อยืนยันว่าความต้องการจำเป็นนั้นเป็นความต้องการจำเป็นอย่างแท้จริง และจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาอย่างแท้จริง รวมถึงเป็นข้อมูลที่สามารถใช้เป็นข้อมูลในการเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม อีกทั้ง ในการกำหนดแนวทางพัฒนาหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ผู้วิจัยได้ 1) ศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลโรงเรียนนครสวรรค์ที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร เช่น โครงสร้างการบริหาร หลักสูตร กิจกรรมเสริมและกิจกรรมเฉพาะกิจ ผู้สอนและบุคลากรสนับสนุน ผู้เรียน การจัดการ ทรัพยากรการจัดการศึกษาเพิ่มเติม 2) เขียนร่างข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตร โดยพิจารณาข้อมูล 3 แหล่ง คือ ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนนครสวรรค์ และเอกสารรายงานผลการวิจัยทางการศึกษา 3) สังเคราะห์ข้อเสนอแนะแล้วเขียนร่างหลักการและแนวทางการดำเนินการพัฒนาหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ใน 7 ด้าน โดยยึดแนวปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ พ.ศ. 2557 ที่ประกอบด้วย ด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดหลักสูตร ด้านการกำหนดเนื้อหาสาระการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรมเสริมและสื่อ ด้านการกำหนดวิธีการสอน และด้านการวัดและประเมินผลผู้เรียน 4) ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงและประเมินความเหมาะสม คุ้มค่า ความเป็นไปได้ของข้อเสนอแนะ หลักการและแนวทางการดำเนินการในการพัฒนาหลักสูตร ผลการประเมินพบว่า หลักการ และแนวทางการดำเนินการในการพัฒนาหลักสูตรของมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดเห็นตั้งแต่ 4.20-5.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าตั้งแต่ 0.00-1.41 เมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่า ค่าเฉลี่ยรวมมีค่าเท่ากับ 4.61 ซึ่งมากกว่า 3.51 และค่าเฉลี่ยรวมส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.20 ซึ่งน้อยกว่า 1.00 แสดงว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าหลักการและแนวทางการดำเนินการในการพัฒนาหลักสูตรมีมีความตรง เหมาะสม คุ้มค่าและมีความเป็นไปได้มากที่สุด
สารสนเทศที่ได้จากการวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ ที่ได้จากศึกษาวิจัย ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนนครสวรรค์ที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรและเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยขอเสนอหลักการและแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ดังรายละเอียด

หลักการ และแนวทางการพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

    หลักการข้อที่ 1 ด้านบริหารจัดการหลักสูตร    
    โรงเรียนควรบริหารจัดการหลักสูตรโดยยึดเป้าหมายการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เปนสากล The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) ทั้งในการออกแบบหลักสูตร การพัฒนาการเรียนการสอน การทดสอบ การวัดผล เพื่อสงเสริมการยกระดับความสามารถในการใชภาษาอังกฤษให้เทียบเคียงมาตรฐานสากล (World-Class Standard) และสร้างเสริมผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถ และมีคุณภาพได้มาตรฐานระดับสากลและก้าวสู่ Thailand 4.0 ทั้งนี้ การบริหารจัดการหลักสูตรควรใช้กระบวนการนิเทศ ติดตามการนำหลักสูตรไปใช้แบบบูรณาการแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การทำงานเป็นทีมของครู ผู้บริหาร นักการศึกษา โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียน อีกทั้งต้องคำนึงถึงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อพิจารณาถึงความสอดคล้องกันของ CEFR และหลักสูตรแกนกลางซึ่งได้กำหนดมาตรฐานของผู้เรียนไว้เช่นกัน เพื่อให้แนวทางการปรับหลักสูตรมีประสิทธิภาพและตอบโจทย์กับผู้เรียนมากขึ้น
    แนวทางการดำเนินการ
1. บริหารจัดการหลักสูตรควรใช้กระบวนการนิเทศ ติดตามการนำหลักสูตรไปใช้แบบบูรณาการแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การทำงานเป็นทีมของครู ผู้บริหาร นักการศึกษา โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียน
2. จัดหาครูเจาของภาษาหรือวิทยากรที่มีความรูความเชี่ยวชาญทางภาษาอังกฤษมาชวยจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
3. จัดหองเรียน EP/MEP/EBE/EIS/IP หรือหองเรียนพิเศษดานภาษาอังกฤษ
4. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร
5. จัดรายวิชาและชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติม
6. จัดคายภาษาอังกฤษแบบเขมในชวงปดภาคเรียน
7. จัดสภาพแวดลอม/บรรยากาศที่สงเสริม/กระตุนการฝกทักษะการสื่อสาร เชน English Literacy Day, English Zone, English Corner, การประกวดแขงขัน
7. จัดสาระเพิ่มเติมหรือรายวิชาเพิ่มเติมนอกเหนือจากสาระหรือรายวิชาพื้นฐาน เช่น การพูดนำเสนองาน การพูดกล่าวสุนทรพจน์การพูดการอภิปรายการอ่านเพื่อความเข้าใจทั่วไป การอ่านเพื่อวิเคราะห์แนวความคิดของผู้เขียน การวิเคราะห์งานเขียน การเขียนสรุปความ การเขียนบทนำและการเขียนสรุป การเขียนเชิงสร้างสรรค์ และการเขียนงานเขียนตามหัวข้อที่สนใจ และการทำโครงงาน และอื่น ๆ ตามบริบทของโรงเรียนและตรงกับความต้องการจำเป็นของผู้เรียน

หลักการข้อที่ 2 ด้านการจัดหลักสูตร
โรงเรียนควรใชกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เปนสากล CEFR (The Common European Framework of Reference for Languages เปนกรอบความคิดหลักในการออกแบบหลักสูตร โดยใหมีสาระเพิ่มเติม หรือรายวิชาเพิ่มเติม หรือกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่หลากหลาย เช่น วิชาการสนทนาภาษาอังกฤษทั่วไป วิชาภาษาอังกฤษแบบเขมข้น วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาต่อ วิชาภาษาอังกฤษเชิงวิชาการเพื่อใหผู้เรียนเลือกเรียน ตามความสนใจ ความถนัด และตามศักยภาพของผู้เรียน และอื่น ๆ ตามบริบทของโรงเรียนและตรงกับความต้องการจำเป็นของผู้เรียน
แนวทางการดำเนินการ
1. จัดหลักสูตรที่มีความเขมขนดานทักษะการใชภาษาอังกฤษอยางหลากหลาย เพื่อสนองความแตกต่าง ความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน อาทิเช่น การสนทนาภาษาอังกฤษทั่วไป ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาต่อ และภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ โดยยึดสมรรถนะทางภาษาของผู้เรียนเป็นฐานในการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร
2. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เนนความสามารถทางดานภาษาตามระดับ CEFR
3. จัดหลักสูตรเทียบเคียงกับหลักสูตรตางประเทศ
4. จัดใหมีชั่วโมง Conversation
5. เพิ่มเวลาในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
6. จัดทำหลักสูตร EP/MEP/EBE/ EIS/IP
7. จัดหลักสูตรคายอาเซียนหรือคายภาษาอังกฤษแบบเขม

หลักการข้อที่ 3 ด้านการกำหนดเนื้อหาสาระ
โรงเรียนควรใชกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เปนสากล CEFR (The Common European Framework of Reference for Languages เปนกรอบความคิดหลักในการออกแบบหรือกำหนดเนื้อหาสาระการเรียนรู้ ทีเชื่อมโยง บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ภายใต้หลักการและแนวคิดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ทุกประการ เพื่อเตรียมผู้เรียนให้มีพื้นฐานและมีความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น


แนวทางการดำเนินการ
1 กำหนดหาสาระเพิ่มเติมที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ หรือบูรณาการกับวิชาอื่น ๆ
2. พัฒนาสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษ

หลักการข้อที่ 4 ด้านการเรียนการสอน
โรงเรียนควรเพิ่มจุดเนนกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบเข้มตามแนวการสอนโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class-Standard School) ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในฐานะพลเมืองของชาติ พลโลก มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ที่เน้นการสื่อสารเชิงวิชาการเพิ่มมากขึ้นในทักษะการฟังเพื่อความเข้าใจ (Listening comprehension skills) โดยอาจจัดรายวิชาเพิ่มเติม หรือสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากสาระหรือรายวิชาพื้นฐานทั่วไป เพื่อสงเสริมการยกระดับความสามารถในการใชภาษาอังกฤษ สำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถทางวิชาการสูง
แนวทางการดำเนินการ
1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะการฟังเพื่อความเข้าใจ (Listening comprehension skills) แบบเข้ม เช่น ฟังแล้วเข้าใจประโยคที่มีโครงสร้างซับซ้อน ฟังแล้วสรุปความหมายคำศัพท์หรือกลุ่มคำที่ไม่คุ้นเคย ฟังแล้วสกัดข้อมูลที่ผู้พูดไม่กล่าวไว้อย่างชัดเจนได้ ฟังแล้วสรุปใจความสำคัญ ฟังแล้วรับรู้ถึงเจตคติของผู้พูด ฟังแล้วแปลความ ฟังแล้วจับใจความสำคัญ ฟังแล้วประเมินความสำคัญของข้อมูล ฟังแล้วเขียนบันทึกย่อ และฟังข้อมูลเฉพาะทางวิชาการ
2. จัดเนื้อหาสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมแบบเข้ม ในทักษะการฟังเพื่อความเข้าใจ (Listening comprehension skills) เพื่อเตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เช่น การฟังคำบรรยายเพื่อจดบันทึกข้อมูล การอภิปรายผลการทดลองและในห้องเรียน การฟังคำบรรยายในห้องเรียนและปฏิบัติตาม การฟังการอภิปราย ประชุม สัมมนาเป็นภาษาอังกฤษ การฟังคำถามจากเพื่อนในห้องเรียน การฟังวิทยุข่าวสารภาษาอังกฤษ การฟังประกาศภาษาอังกฤษตามสถานที่ต่าง การฟังการนำเสนองาน การฟังและพูดในการสนทนาเผชิญหน้า การฟังรายการทีวีภาษาอังกฤษ เช่น ข่าว สารคดี การฟังบทสนทนาทางโทรศัพท์ การฟังชาวต่างชาติที่เป็นเจ้าของภาษา การฟังชาวต่างชาติที่ไม่ได้เป็นเจ้าของภาษา การฟังเสียงภาพยนตร์ ฟังเพลงภาษาอังกฤษ และการฟังคำอภิปรายผลการทดลองในห้องทดลองและห้องเรียน

หลักการข้อที่ 5 ด้านการเรียนการสอน
โรงเรียนควรเพิ่มจุดเนนกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบเข้ม ตามแนวการสอนโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class-Standard School) ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในฐานะพลเมืองของชาติ พลโลก มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ที่เน้นการสื่อสารเชิงวิชาการเพิ่มมากขึ้น ในทักษะการพูดเชิงวิชาการ (Academic speaking skills) โดยอาจจัดรายวิชาเพิ่มเติม หรือสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากสาระหรือรายวิชาพื้นฐานทั่วไป เพื่อสงเสริมการยกระดับความสามารถในการใชภาษาอังกฤษ สำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถทางวิชาการสูง
แนวทางการดำเนินการ
1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะการพูดเชิงวิชาการ (Academic speaking skills) แบบเข้ม เช่น พูดนำเสนอรายงานในชั้นเรียน พูดอภิปรายกับครูชาวต่างชาติ พูดรายงาน นำเสนอข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ พูดสรุปใจความสำคัญ พูดถาม/ตอบคำถามในชั้น พูดนำเสนอรายงานในชั้นเรียน พูดแนะนำตัวเอง พูดบอกความเหมือน/ความแตกต่าง พูดแสดงวิธีแก้ปัญหา พูดแสดงเหตุผล และพูดบรรยาย พูดใช้เสียงสูงต่ำและการเน้นคำได้เหมาะสม พูดและคิดคำพูดได้เร็ว พูดบอกความเหมือน /ความแตกต่าง พูดแสดงการวิเคราะห์ วิพากษ์ และพูดออกเสียงได้ถูกต้อง
2. จัดเนื้อหาสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมแบบเข้ม ในทักษะการพูดเชิงวิชาการ (Academic speaking skills) เพื่อเตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เช่น การพูดนำเสนอรายงานในห้องเรียนภาษาอังกฤษ) การพูดอภิปรายเรื่องทั่ว ๆ ไป เหตุการณ์ปัจจุบันกับชาวต่างชาติ การพูดนำเสนองาน หรือผลงานเป็นภาษาอังกฤษในสถานที่ทำงาน การพูดกับนักท่องเที่ยวอย่างไม่เป็นทางการ การพูดกับชาวต่างชาติที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา การพูดกับชาวต่างชาติที่เป็นเจ้าของภาษา การพูดอภิปรายเรื่องทั่ว ๆ ไปเหตุการณ์ปัจจุบันในห้องเรียนภาษาอังกฤษ และการพูดเพื่อการท่องเที่ยวในต่างประเทศ

หลักการข้อที่ 6 ด้านการเรียนการสอน
โรงเรียนควรเพิ่มจุดเนนกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบเข้ม ตามแนวการสอนโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class-Standard School) ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในฐานะพลเมืองของชาติ พลโลก มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ที่เน้นการสื่อสารเชิงวิชาการเพิ่มมากขึ้น ในทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ (Reading comprehension skills) โดยอาจจัดรายวิชาเพิ่มเติม หรือสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากสาระหรือรายวิชาพื้นฐานทั่วไป เพื่อสงเสริมการยกระดับความสามารถในการใชภาษาอังกฤษ สำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถทางวิชาการสูง
แนวทางการดำเนินการ
1.จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ (Reading comprehension skills) แบบเข้ม เช่น อ่านแล้วสังเคราะห์เรื่องที่อ่าน รู้ไวยากรณ์ในเรื่องที่อ่าน เข้าใจเรื่องที่อ่านทั้งหมด จำแนก แยกแยะระหว่างข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น ทำนายหรือคาดเดาเหตุการณ์ของเรื่องที่อ่าน วิเคราะห์เรื่องที่อ่าน อ่านอย่างเร็ว อ่านเพื่อบันทึกย่อ กลวิธีการอ่านเพื่อความเข้าใจ เข้าใจข้อมูลที่ผู้เขียนตั้งใจบอก เข้าใจโครงสร้างของเรื่องที่อ่าน เข้าใจคำศัพท์ที่ปรากฏในบทอ่าน อ่านหาข้อความสนับสนุน เข้าใจรูปแบบของงานเขียน อ่านโดยไม่ต้องแปล อ่านเร็วเพื่อสำรวจค้นหาเฉพาะข้อความสำคัญก่อนที่จะอ่านข้อเขียนนั้นอย่างละเอียดแบบ skimming, scanning อ่านหาข้อความสนับสนุน เข้าใจใจความสำคัญ หรือจุดสำคัญของเรื่อง เดาความหมายคำศัพท์ที่ไม่รู้ความหมายจากบริบท และอ่านเพื่อความเข้าใจเนื้อหาเฉพาะวิชา
        2. จัดเนื้อหาสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมแบบเข้ม ในทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ (Reading comprehension skills) เพื่อเตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เช่น การอ่านเนื้อหาเฉพาะวิชา เช่น เนื้อหาวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา, คณิตศาสตร์ การอ่านข้อมูลจากกราฟที่สอดคล้องกับเนื้อหาเฉพาะวิชา การอ่านเพื่อเข้าใจคำถามและข้อสอบ การอ่านแล้วแปลเนื้อหาเฉพาะวิชาเป็นภาษาไทย การอ่านหนังสืออ้างอิง การอ่านอย่างเร็ว การอ่านวารสารวิชาการ การอ่านแนวความคิดของผู้เขียน การอ่านหนังสือเรียน ตำราเรียนภาษาอังกฤษ การอ่านทั่วไปเพื่อความเข้าใจ การอ่านนิทาน เรื่องสั้น นิยาย การอ่านบทความในอินเทอร์เน็ต การเข้าใจคำศัพท์ที่ปรากฏในบทอ่านละ และการสังเคราะห์เรื่องที่อ่าน

หลักการข้อที่ 7 ด้านการเรียนการสอน
โรงเรียนควรเพิ่มจุดเนนกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบเข้ม ตามแนวการสอนโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class-Standard School) ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในฐานะพลเมืองของชาติ พลโลก มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ที่เน้นการสื่อสารเชิงวิชาการเพิ่มมากขึ้นในทักษะการเขียนเชิงวิชาการ (Academic writing skills) โดยอาจจัดรายวิชาเพิ่มเติม หรือสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากสาระหรือรายวิชาพื้นฐานทั่วไป เพื่อสงเสริมการยกระดับความสามารถในการใชภาษาอังกฤษ สำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถทางวิชาการสูง
แนวทางการดำเนินการ
1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะการเขียนเชิงวิชาการ (Academic writing skills) แบบเข้ม เช่น เขียนสรุปย่อใจความสำคัญ เขียนบรรยายกระบวนการ วางแผนการเขียน เขียนเปรียบเหมือน/เปรียบต่าง เรียบเรียงเนื้อหาให้ได้ใจความตามรูปแบบของประโยคอย่างต่อเนื่อง สร้างสรรค์ความคิด เขียนงานเขียน จัดลำดับความคิดตามลำดับความสำคัญ เขียนโต้แย้ง จัดระบบความคิดเป็นระเบียบ เขียนประโยคใจความสำคัญ เขียนฉบับร่างและปรับปรุงงานเขียน เขียนอธิบายความ เชื่อมโยงความคิดให้สอดคล้องทักษะคิด วิพากษ์วิจารณ์ ระบุปัญหาและเขียนแนวทางการแก้ปัญหา เขียนถ่ายโยงเป็นภาษาของตนเอง
2. จัดเนื้อหาสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมแบบเข้ม ในทักษะการเขียนเชิงวิชาการ (Academic writing skills) เพื่อเตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เช่น การเขียนรายงานในวิชาเรียนเป็นภาษาอังกฤษ การเขียนบทนำและเขียนสรุป การเขียนเรียงความ การเขียนบรรยาย วัตถุสิ่งของและขั้นตอน การวิเคราะห์งานเขียน การเขียนแบบสังเคราะห์ข้อมูลจากหลายแหล่ง การเขียนสรุปใจความสำคัญของเรื่องที่ฟังหรืออ่าน การเขียนแบบกรณีศึกษา การเขียนสรุปข้อมูลที่เป็นจริง การเขียนประโยคซับซ้อน การสร้างสรรค์งานเขียน การเขียนอ้างอิงและการยกคำหรือข้อความ การจดบันทึกจดหมายเป็นภาษาอังกฤษ การเขียน e-mail เป็นภาษาอังกฤษถึงชาวต่างชาติ การเขียนประโยคต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง การวิเคราะห์งานเขียน การเขียนตอบในข้อสอบ

หลักการข้อที่ 8 ด้านการเรียนการสอน
โรงเรียนควรจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่เน้นการมีส่วนร่วมและบทบาทในการเรียนรู้ของผู้เรียน ครอบคลุมวิธีการเรียนการสอนที่หลากหลายวิธี เช่น การเรียนรู้ด้วยการค้นพบ (Discovery Learning) การเรียนรู้จากกรณีปัญหา (Problem–Based Learning) การเรียนรู้จากการสืบค้น (Inquiry–Based Learning) และการเรียนรู้ จากการทํากิจกรรม (Activity–Based Learning) โดยมีหลักการสําคัญคือ ให้ผู้เรียนมีบทบาทหลักในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความตื่นตัวและกระตือรือร้นด้านการรู้คิด (Cognitively Active) ทําให้ได้การเรียนรู้มีประสิทธิผลสูง เป็นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ ได้ด้วยตนเองทําให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องนอกห้องเรียน (Life–long Learning) เนื่องจากแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกเป็นแนวทางการดำเนินการที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ด้วยตนเอง (self-directed learning) และการเรียนรู้ตลอดชีวิต (life-long leaning)
แนวทางการดำเนินการ
1. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ภาษาในทุกรูปแบบ เช่น กิจกรรมเดี่ยว กิจกรรมคู่และกิจกรรมกลุ่ม
2. ใช้วิธีการสอนแบบตรง การสอนแบบการแก้ปัญหา การสอนที่ใช้จินตนาการและสร้างสรรค์ เช่น การสอนแบบโครงงาน การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน การศึกษาค้นคว้าและนำเสนอรายงาน
3. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เช่น การค้นพบ (Discovery Learning) การเรียนรู้จากกรณีปัญหา (Problem–Based Learning) การเรียนรู้จากการสืบค้น (Inquiry–Based Learning) และการเรียนรู้จากการทํากิจกรรม (Activity–Based Learning) อื่น ๆ

หลักการข้อที่ 9 ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร
โรงเรียนควรจัดกิจกรรมและสภาพแวดลอมที่สงเสริมความสามารถดานภาษาอังกฤษ เชน
การเขาคายภาษาอังกฤษแบบเขม และคายนานาชาติสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถสูง การจัดสภาพแวดลอม บรรยากาศที่สงเสริม ที่เอื้อและกระตุนการฝึกทักษะการสื่อสาร การประกวดแขงขันตาง ๆ
ปายสารนิเทศ และการเพิ่มกิจกรรมการอานในและนอกหองด้วยเนื้อหาสาระที่หลากหลาย
แนวทางการดำเนินการ
1. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เนนความสามารถทางดานภาษาตามระดับ CEFR
2. จัดกิจกรรมและเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรูเพื่อฝกฝนและเสริมทักษะทางภาษา จัดบรรยากาศ กระตุนสงเสริมการใชภาษาอังกฤษของนักเรียนทั้งในและนอกหองเรียน

หลักการข้อที่ 10 ด้านสื่อการเรียนรู้
โรงเรียนควรสงเสริมใหมีการใชสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาเปนเครื่องมือสำคัญในการชวยพัฒนาความสามารถทางภาษาของผูเรียน ทั้งการสงเสริมใหมีการผลิต การสรรหา รวมถึงแบบฝก ใบงาน ที่ไดมาตรฐานและมีคุณภาพสำหรับการเรียนรู รวมทั้งสงเสริมใหมีการใชชองทางการเรียนรู้
ผานโลกดิจิทัล เช่น e-content, Learning applications Digital, e-book, learning.app., website
แนวทางการดำเนินการ
1. ใช้สื่อที่หลากหลายประเภท ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิดีโอคลิป You-tube, Internet และ Applications ต่าง ๆ
2. เลือกใชสื่อแบบเรียน/แบบฝกระดับสูงตามความเหมาะสม
3. ใชสื่อ Digital, e-book, learning.app., website ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู โดยใช ประโยชนจาก Tablet
4. จัดกิจกรรมการเรียนรู้อื่นเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมทักษะการสืบค้น การทำข้อสอบ และการจดบันทึกข้อมูล และอื่น ๆ

หลักการข้อที่ 11 ด้านการวัดและประเมินผล
โรงเรียควรใชกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เปนสากล The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) เปนกรอบความคิดหลักในการการวัดและประเมินผล เน้นการประเมินตามสภาพจริงด้วยหลากหลายวิธีการ โดยยึดสมรรถนะทางภาษาอังกฤษของผู้เรียนเป็นฐาน
แนวทางการดำเนินการ
1. ส่งเสริมให้ผู้สอนใช้วิธีการวัดและประเมินผลโดยการทดสอบ ประเมินจากผลงาน ชิ้นงาน ภาระงาน ใบงานและแฟ้มสะสมผลงาน และประเมินโดยการสังเกตพัฒนาการเป็นรายบุคคล
2. วัดและประเมินผลทักษะพื้นฐานทางภาษาทั้งสี่ด้าน (ฟัง พูด อ่าน เขียน) และเน้นการวัดทักษะการสื่อสาร การฟงและการพูดเบื้องตนในลักษณะการประเมินตามสภาพจริงหรือประเมินรวบยอดปลายปีตามมาตรฐานที่กำหนดในหลักสูตร
3. วัดและประเมินผลทักษะ soft skill เพิ่มเติม เช่น ทักษะในการคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร
การเข้าสังคม การทำงานเป็นทีม การสืบค้นข้อมูล การทำงานร่วมกัน และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

คำสำคัญ
    การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (needs assessment)
    แนวทางการพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เปนสากล CEFR
    แนวทางการรพัฒนาหลักสูตรตามแนวการสอนโรงเรียนมาตรฐานสากล
        แนวทางการรพัฒนาหลักสูตรตามมาตรฐานระดับสากลและก้าวสู่ Thailand 4.0
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^