พัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะหลักภาษาไทยเพื่อการคิดวิเ
เพื่อการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้รายงาน นายกฤษฎา แร่จั่น
โรงเรียน โรงเรียนวัดสิงห์ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท
ระยะเวลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การสร้างแบบฝึกทักษะหลักภาษาไทยเพื่อการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะหลักภาษาไทยเพื่อการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะหลักภาษาไทยเพื่อการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ แบบฝึกทักษะหลักภาษาไทยเพื่อการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้
ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โดยใช้
วิธีการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก จำนวน 25 คน รูปแบบการศึกษาดำเนินการทดลองเพื่อเปรียบเทียบผลก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะหลักภาษาไทยเพื่อการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และ t - test (dependent)
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะหลักภาษาไทยเพื่อการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 โดยมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.44/82.00
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้แบบฝึกทักษะ หลักภาษาไทยเพื่อการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยของนักเรียน ก่อนเรียนเป็น 16.96 และหลังเรียนเป็น 24.60 โดยมีคะแนนความก้าวหน้าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ หลักภาษาไทยเพื่อการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า
มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D = 0.22)