การพัฒนาการเรียนรู้มาตราไทยไปผันวรรณยุกต์โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ
การพัฒนาการเรียนรู้มาตราไทยไปผันวรรณยุกต์โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเวียงพาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3
ผู้ศึกษา นางสาวนิชญาภัช รวดเร็ว ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย เรื่อง เรียนรู้มาตราไทยไปผันวรรณยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย เรื่อง เรียนรู้มาตราไทยไปผันวรรณยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย เรื่อง เรียนรู้มาตราไทยไปผันวรรณยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนบ้านเวียงพาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง เรียนรู้มาตราไทยไปผันวรรณยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 24 แผน 2) แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย เรื่อง เรียนรู้มาตราไทยไปผันวรรณยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 9 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เรียนรู้มาตราไทยไปผันวรรณยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 30 คะแนนและ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย เรื่อง เรียนรู้มาตราไทยไปผันวรรณยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบมาตราประมาณค่า (Rating Scale) แบ่งระดับความคิดเห็นออกเป็น 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อยและน้อยที่สุด ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ด้าน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) สถิติที่แบบไม่อิสระ (t-test Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย เรื่อง เรียนรู้มาตราไทยไปผันวรรณยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ ( ) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ( ) เท่ากับ 87.76/87.78 ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ( =20.33, = 1.97) หลังเรียน ( =26.33, = 3.50) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย เรื่อง เรียนรู้มาตราไทยไปผันวรรณยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.36, =0.68)