ขอเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
นักเรียน โรงเรียนวัดสนามไชย ปีการศึกษา 2560
ผู้รายงาน นางเดือนวดี เสนชู
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสนามไชย
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2560
คำสำคัญ พัฒนาห้องสมุดมีชีวิต , เสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดสนามไชย ปีการศึกษา 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเหมาะสมของโครงการโดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการที่เน้นการตัดสินใจของ Stufflebeam ที่เรียกว่า “ CIPP approach ” โดยมุ่งเน้นใน 4 ด้าน คือ การประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) และการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ในด้นคุณภาพของการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต คุณภาพห้องสมุดมีชีวิต พฤติกรรมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่าง นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 7 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.96
-0.99 วิเคราะห์เครื่องมือโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS (Statistical Package for the Social Science for windows) version 16 ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปได้ดังนี้
การประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดสนามไชย ปีการศึกษา 2560 สรุปผลได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดสนามไชย ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีความจำเป็นหรือความเหมาะสมอยู่ในระดับได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่ากลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (= 4.38 , = 0.47) ได้คะแนน 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและตัวชี้วัด และรองลงมา ได้แก่ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.25 , S.D. = 0.49) ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดสนามไชย ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (= 4.16 , = 0.57) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนวัดสนามไชย ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวม ทุกกลุ่มที่ประเมินมีการปฏิบัติหรือคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียน มีการปฏิบัติหรือคุณภาพ อยู่ในระดับมาก ( = 4.26, S.D. = 0.49) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้คะแนน 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและตัวชี้วัด และรองลงมา ได้แก่กลุ่มครู มีการปฏิบัติหรือคุณภาพอยู่ในระดับมาก (= 4.19 , = 0.38) ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและตัวชี้วัด ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีการปฏิบัติหรือคุณภาพอยู่ในระดับมาก
( = 4.09 , S.D. = 0.42) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิต จำแนกเป็น
4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพของการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดสนามไชย ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพ อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีการปฏิบัติหรือคุณภาพ อยู่ในระดับมาก ( = 4.28 , S.D. = 0.47) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้คะแนน 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและตัวชี้วัด และรองลงมา ได้แก่ กลุ่มนักเรียน มีการปฏิบัติหรือคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.25, S.D. = 0.48) ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและตัวชี้วัด ส่วนกลุ่มครู มีการปฏิบัติหรือคุณภาพอยู่ในระดับมาก (= 4.18 , = 0.42) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพห้องสมุดมีชีวิต โรงเรียนวัดสนามไชย ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวม ทุกกลุ่มที่ประเมินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีคุณภาพ อยู่ในระดับมาก (= 4.34 , = 0.44) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้คะแนน 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและตัวชี้วัด และรองลงมา ได้แก่กลุ่มนักเรียน มีคุณภาพ อยู่ในระดับมาก ( =4.27 , S.D.= 0.43) ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและตัวชี้วัด ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.19 , S.D. = 0.46) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมการมีนิสัยรัก การอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดสนามไชย ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวม ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีการปฏิบัติหรือคุณภาพ อยู่ในระดับมาก (= 3.91 , = 0.43) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้คะแนน 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและตัวชี้วัด และรองลงมา ได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง มีการปฏิบัติหรือคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 3.80 , S.D. = 0.36) ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและตัวชี้วัดเช่นกัน
4.4 ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนวัดสนามไชย ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียน มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ( = 4.25 , S.D. = 0.45) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้คะแนน 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและตัวชี้วัด และรองลงมา ได้แก่ กลุ่มครู มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (= 4.24 , = 0.44) ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและตัวชี้วัด กลุ่มผู้ปกครอง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.15, S.D. = 0.42) ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและตัวชี้วัด ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.14, S.D. = 0.48) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้คะแนน 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินเช่นกัน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะสำหรับการนำเสนอผลการประเมินไปใช้
1. ควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่มีชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง เช่น กิจกรรมห้องสมุดเคลื่อนที่
2. ควรส่งเสริมให้ผู้ปกครอง และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินโครงการต่างๆทุกโครงการที่โรงเรียนดำเนินการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินอื่นๆที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ
2. ควรมีการประเมินโครงการในระดับองค์รวมของสถานศึกษาโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินของซิปป์ (CIPP Model)