แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนหงษ์เจริญวิทยาคม
โดยใช้กระบวนการพัฒนาแบบบันได ๙ ขั้น สู่ความสำเร็จ
ผู้เผยแพร่ นายเอกวุฒิ ไกรมาก ผู้อำนวยการโรงเรียนหงษ์เจริญวิทยาคม
..................................................................
วิธีการพัฒนา
แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนหงษ์เจริญวิทยาคม โดยใช้กระบวนการพัฒนาแบบบันได ๙ ขั้นสู่ความสำเร็จ ภายใต้การบริหารเชิงระบบมีแนวคิดในการพัฒนา ดังนี้
๑. ด้านปัจจัยนำเข้า
- พัฒนาบุคลากรให้เกิดความตระหนัก มีความรู้ความเข้าใจในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้การบูรณาการการจัดการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และร่วมกันบริหารโรงเรียนโดยหลักพอประมาณ มีเหตุผล สร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง ด้วยความรู้ อย่างมีคุณธรรม
- จัดสรรงบประมาณการพัฒนาโรงเรียนในแต่ละกลยุทธ์ โครงการ และกิจกรรม ตามหลักหลักพอประมาณ มีเหตุผล สร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง
- จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือในการปฏิบัติงานให้ครูและบุคลากรอย่างเพียงพอ เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงาน
- นำข้อมูลสารสนเทศมาประกอบการตัดสินใจบริหารจัดการศึกษาอย่างเหมาะสมโดยคำนึงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๒. ด้านกระบวนการ
ในด้านกระบวนการการดำเนินการเพื่อพัฒนาโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนหงส์เจริญวิทยาคม ผ่านโครงการ กิจกรรมต่างๆนั้นใช้ “บันได 9 ขั้น สู่ความสำเร็จ” เป็นกรอบแนวดำเนินการดังนี้
ขั้นที่ 1 Goal กำหนดเป้าหมายสู่ความสำเร็จ การพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงโรงเรียนหงษ์เจริญวิทยาคมเริ่มต้นด้วยการกำหนดเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การวางแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี
ขั้นที่ 2 Knowledge แสวงหาองค์ความรู้สู่การพัฒนาตามเป้าหมาย ครูและบุคลากรโรงเรียนหงษ์เจริญวิทยาคมต้องทำการแสวงหาความรู้หรือองค์ความรู้มาใช้เป็นทุนหรือ พื้นฐานการพัฒนาโรงเรียนหรือการปฏิบัติงานเพื่อให้บังเกิดผลสำเร็จ
ขั้นที่ 3 Participation สร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ผู้อำนวยการโรงเรียนโรงเรียนหงษ์เจริญวิทยาคมบริหารแบบมีส่วนร่วมวางแผน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และรับความภาคภูมิใจ ต่อความสำเร็จทุกภาคส่วน
ขั้นที่ 4 Rationalize นำวิธีการที่หลากหลายทันสมัยมาใช้พัฒนา การพัฒนาโรงเรียนหงษ์เจริญวิทยาคมจะนำวิธีการที่ทันสมัย นำเทคโนโลยี หรือ วิธีการต่างๆมาใช้เพื่อให้การพัฒนามีความเจริญก้าวหน้า
ขั้นที่ 5 Assessment ประเมินผลควบคู่พัฒนา โรงเรียนหงษ์เจริญวิทยาคมทำการประเมินผลการปฏิบัติการทุกๆ งาน แล้วนำผลการประเมินมากำหนดแนวทางพัฒนาโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
ขั้นที่ 6 Network ขยายเครือข่ายร่วมมือพัฒนา การพัฒนาโรงเรียนหงษ์เจริญวิทยาคม ต้องร่วมมือกันระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน หน่วยงาน และองค์กรต่างๆ จับมือกันเป็นภาคีเครือข่ายการพัฒนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
ขั้นที่ 7 Achievement ต้องเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย โรงเรียนโรงเรียนหงษ์เจริญวิทยาคมต้องพัฒนาให้มีผลการสำเร็จในการพัฒนานักเรียน พัฒนาครู และพัฒนาโรงเรียน อย่างเป็นรูปธรรมเป็นที่ประจักษ์
ขั้นที่ 8 Organizational Health สุขภาพองค์กรดี การพัฒนาสถานพอเพียงโรงเรียนหงษ์เจริญวิทยาคมมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ทุกคนทำงานและเรียนรู้ อย่าง มีความสุข มีความพึงพอใจส่งผลดีต่อการเรียนและการปฏิบัติงาน นักเรียนและบุคลากรมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดี โรงเรียนน่าอยู่ สะอาด ร่มรื่น สวยงาม ปลอดภัย
ขั้นที่ 9 Sustainable development สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน การพัฒนาสถานพอเพียงโรงเรียนหงษ์เจริญวิทยาคม มุ่งให้ความสำเร็จยังคงอยู่ต่อไปที่ตัวผู้เรียน ครูและบุคลากร ชุมชน และโรงเรียน ความสำเร็จตามเป้าหมายต่างๆของโรงเรียนต้องพัฒนาต่อยอดให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ต่อเนื่องตลอดไป
๓. ด้านผลผลิต
มุ่งให้เกิดผลผลิตตามเป้าหมายดังนี้
- สถานศึกษา เป็นสถานศึกษาสะอาด เป็นระเบียบ ร่มรื่น ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ใน
การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และบุคลากรรวมถึงผู้เรียน มีการแบ่งปัน สามัคคี ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน รวมถึงมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และพื้นฟูวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนมีส่วนร่วมในการดาเนินกิจกรรม อันเป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
- ผู้บริหารสถานศึกษา มีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง และนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติตน อย่างเป็นเหตุเป็นผล พอประมาณกับศักยภาพของตน และสอดคล้องกับภูมิสังคม รวมถึงมีการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
- บุคลากรของสถานศึกษา บุคลากรของสถานศึกษาเกินกว่าครึ่งหนึ่ง มีความเข้าใจมี
ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่ถูกต้องของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- ผู้เรียน ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและ
ปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ในด้านวัตถุ เศรษฐกิจ และสังคม