พัฒนาผลสัมฤทธิ์โดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค STAD เรื่อง เซต
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวังโพนงามวิทยา ปีการศึกษา 2560
โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค STAD เรื่อง เซต
ผู้วิจัย นางสาววิจิตรา กรมทอง ตำแหน่งครู อันดับ คศ. 2 วิทยฐานะครูชำนาญการ
หน่วยงาน โรงเรียนวังโพนงามวิทยา อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค STAD เรื่อง เซต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ความสัมพันธ์ด้านกระบวนการและผลลัพธ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวังโพนงามวิทยา ปีการศึกษา 2560 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค STAD เรื่อง เซต 3) เพื่อศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวังโพนงามวิทยา ปีการศึกษา 2560 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค STAD เรื่อง เซต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนวังโพนงามวิทยา อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 16 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster - Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ประเภท คือ 1) ชุดกิจกรรม การเรียนรู้เทคนิค STAD เรื่อง เซต จำนวน 7 ชุด 2) คู่มือการใช้และแผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบ ซึ่งมี 2 ประเภท คือ แบบทดสอบประจำชุด ใช้ทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค STAD เรื่อง เซต การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการทดลองแบบ One - Group Pretest - Posttest Design โดยผู้วิจัยได้ทำการทดสอบ ก่อนเรียน และดำเนินการทดลองสอน แล้วจึงทดสอบหลังเรียน นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบที (t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for dependent sample) และให้นักเรียนตอบแบบประเมินความพึงพอใจ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบที (t-test) แบบกลุ่มเดียว (t-test for one sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค STAD เรื่อง เซต มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ความสัมพันธ์ด้านกระบวนการและผลลัพธ์ เท่ากับ 89.99/84.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75
2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค STAD เรื่อง เซต มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = 22.27) โดยคะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.81 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.42 และคะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.35
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค STAD เรื่อง เซต จำแนกเป็นรายข้อมีภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.51 ) พิจารณาค่าเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจของนักเรียนเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากขึ้นไปทุกด้าน และผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความพึงพอใจเฉลี่ยของนักเรียนกับเกณฑ์ระดับมาก (ระดับ 4) จำแนกเป็นรายคน พบว่า ค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจของนักเรียนเท่ากับ 4.51 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.14 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = 14.94)
โดยสรุปกล่าวได้ว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค STAD เรื่อง เซต สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต ของนักเรียนให้สูงขึ้นได้และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค STAD เรื่อง เซต