รายงานการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา
ผู้รายงาน นายภิญญา รัตนวรชาติ ตำแหน่ง โรงเรียนชุมชนบ้านคลองพลู(วิศิษฐ์วิทยาทาน)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2559-2560
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านคลองพลู(วิศิษฐ์วิทยาทาน) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประเมินกระบวนการดำเนินโครงการเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินโครงการและการจัดกิจกรรมต่างๆ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ เป็นการประเมินความพร้อม ความเพียงพอและความเหมาะสมของบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 3) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับทรัพยากรที่ระดมมาได้ 4) เพื่อประเมินผลลัพธ์ของโครงการเกี่ยวกับประโยชน์หรือผลกระทบที่นักเรียนครูและโรงเรียนได้รับ
ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยยกเว้นผู้บริหารและผู้แทนครู จำนวน 13 คน ครู โรงเรียนชุมชนบ้านคลองพลู
(วิศิษฐ์วิทยาทาน)จำนวน 29 คน และ คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง โรงเรียนชุมชนบ้านคลองพลู(วิศิษฐ์วิทยาทาน)จำนวน 22 คน รวม 64 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งสิ้น 4 ฉบับ ฉบับที่ 1 และ2 เป็น แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ทั้ง 2 ฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับคือ .954 และ .908 ฉบับที่ 3 แบบสรุปผลการระดมทรัพยากรทางการศึกษา และฉบับที่ 4 แบบประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า 1) ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการเป็นการประเมินก่อนการดำเนินโครงการ เกี่ยวกับความพร้อม ความเพียงพอ และความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และระยะเวลาในการดำเนินโครงการตามความคิดเห็นของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู และคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ผลปรากฎว่าการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านคลองพลู(วิศิษฐ์วิทยาทาน)โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, =0.67) เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็นตัวชี้วัดพบว่าประเด็นงบประมาณมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =4.64, =0.69) รองลงมาคือประเด็น บุคลากรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด( =4.62, =0.67) ส่วนประเด็นวัตถุประสงค์ของโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( =4.58, =0.65) 2) ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการในระหว่างการดำเนินโครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามขั้นตอนต่างๆในโครงการตามวงจรคุณภาพ PDCA ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู และคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ปรากฏผลว่าการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านคลองพลู(วิศิษฐ์วิทยาทาน)โดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.61, =0.67) เมื่อพิจารณา แต่ละประเด็นตัวชี้วัดพบว่าประเด็นการปรับปรุง แก้ไข มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =4.63, =0.68) รองลงมาคือประเด็นการวางแผน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.62, =0.66) ส่วนประเด็นการการตรวจสอบ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( =4.58, =0.66) 3) ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเป็นการประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ เกี่ยวกับทรัพยากรที่ระดมมาได้ 3 ด้านคือ ด้านบุคคล ด้านการเงิน และด้านวัสดุอุปกรณ์โดยใช้จำนวนของทรัพยากรที่ระดมมาได้ตามสภาพจริง เปรียบเทียบกับจำนวนของทรัพยากรตามเป้าหมายของโครงการที่คาดว่าจะได้รับ และต้องผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ผลการประเมินโดยรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อพัฒนาเป็นรายด้าน พบว่า ทรัพยากรที่ระดมได้ผ่านเกณฑ์ ที่กำหนดทุกด้าน 4) ผลการประเมินด้านผลลัพธ์ของโครงการ เป็นการประเมินหลังจากโครงการเสร็จสิ้นและได้นำทรัพยากรไปใช้พัฒนาโรงเรียนครบทุกด้านแล้ว โดยการเปรียบเทียบมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านคลองพลู(วิศิษฐ์วิทยาทาน)
ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2560 โดยรวมพบว่า ปีการศึกษา 2558อยู่ในระดับคุณภาพ 4 ดีมากมีค่าร้อยละเท่ากับ 88.12 และปีการศึกษา 2560 อยู่ในระดับคุณภาพ 5 ดีเยี่ยม มีค่าร้อยละเท่ากับ 94.76 แสดงว่าระดับคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลังดำเนินโครงการสูงกว่าก่อนดำเนินโครงการ โดยสรุปก็คือ ผลจากการจัดทำโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านคลองพลู(วิศิษฐ์วิทยาทาน)ทำให้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านคลองพลู(วิศิษฐ์วิทยาทาน)สูงขึ้น
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดด้อย เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษา ในโรงเรียนตามความเหมาะสม
1.2 ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของโครงการ ควรยกย่องเชิดชูเกียรติ ให้การช่วยเหลือสนับสนุนโครงการด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินและวิจัยครั้งต่อไป
2.2 ควรนำการประเมินโครงการรูปแบบไอปู้ (IPOO Model) ไปประเมินโครงการอื่นๆ ตามนโยบายของโรงเรียนต่อไป เพื่อให้ทราบข้อดี ข้อบกพร่อง และประสิทธิภาพของโครงการที่ประเมิน และสร้างการปฏิบัติที่ชัดเจนวัดผลได้