ประกาศคุณูปการ
การประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษา ขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านคลองพลู(วิศิษฐ์วิทยาทาน) สำเร็จได้ด้วยดีจากความกรุณาช่วยเหลือ ให้ความรู้ แนวคิด ข้อเสนอแนะ การดำเนินการที่ถูกต้องเหมาะสมตามระเบียบวิธีการวิจัย และสอดคล้องกับของสถานศึกษา ตลอดจนให้คำปรึกษาปรับปรุงแก้ไขพัฒนางานอย่างดียิ่ง และด้วยความกรุณาชี้แนะ เติมเต็มในจุดที่ขาด ให้โอกาสในสิ่งที่พร้อม จากนายวิวัฒน์ไชย ศรีวิพัฒน์ ผู้อำนวยการฯเชี่ยวชาญ โรงเรียนบ้านห้วยกะปิ นายถนอม สหะวรกุลศักดิ์ ผู้อำนวยการฯเชี่ยวชาญ โรงเรียนบ้านหนองเขิน รองศาสตราจารย์ ดร.สฎายุ ธีระวณิชตระxxxล คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ดร.ประภาศรี พิทอนวอน ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี
เขต๑ นางปาลิกา นิธิประเสริฐกุล นักวิชาการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี คณะครู นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งปรากฏนามและไม่ปรากฏนาม ในส่วนร่วมสร้างความสมบูรณ์ให้เกิดขึ้นกับงานฉบับนี้ จึงขอขอบพระคุณอย่างสูง
ขอบคุณผู้บริหาร คณะครู บุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต ๑ ที่ให้ความอนุเคราะห์อย่างดียิ่ง คระกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะครู บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครองโรงเรียนชุมชนบ้านคลองพลู(วิศิษฏ์วิทยาทาน) ในการสนับสนุนทุกความปราถนาดี
ขอบคุณบิดา มารดา ครู อาจารย์ ญาติสนิท มิตรสหาย ทุกท่านที่อบรม บ่มเพาะ
ประสิทธิประสาท วิชาความรู้ ขอบใจครอบครัว ในการสนับสนุนแรงกายแรงใจ ด้วยดีเสมอมา
คุณประโยชน์ คุณค่าทั้งหลาย ขอมอบให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาชาติ เป็นดั่งดอกไม้
ธูปเทียน เครื่องบูชา กตัญญูกตเวทิตา แด่บิดา มารดา บูรพาจารย์ และผู้มีพระคุณทุกท่าน
ภิญญา รัตนวรชาติ
ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านคลองพลู(วิศิษฐ์วิทยาทาน)
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านคลองพลู(วิศิษฐ์วิทยาทาน)
ผู้รายงาน นายภิญญา รัตนวรชาติ ตำแหน่ง โรงเรียนชุมชนบ้านคลองพลู(วิศิษฐ์วิทยาทาน)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2559-2560
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านคลองพลู(วิศิษฐ์วิทยาทาน) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประเมินกระบวนการดำเนินโครงการเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินโครงการและการจัดกิจกรรมต่างๆ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ เป็นการประเมินความพร้อม ความเพียงพอและความเหมาะสมของบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 3) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับทรัพยากรที่ระดมมาได้ 4) เพื่อประเมินผลลัพธ์ของโครงการเกี่ยวกับประโยชน์หรือผลกระทบที่นักเรียนครูและโรงเรียนได้รับ
ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยยกเว้นผู้บริหารและผู้แทนครู จำนวน 13 คน ครู โรงเรียนชุมชนบ้านคลองพลู
(วิศิษฐ์วิทยาทาน)จำนวน 29 คน และ คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง โรงเรียนชุมชนบ้านคลองพลู(วิศิษฐ์วิทยาทาน)จำนวน 22 คน รวม 64 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งสิ้น 4 ฉบับ ฉบับที่ 1 และ2 เป็น แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ทั้ง 2 ฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับคือ .954 และ .908 ฉบับที่ 3 แบบสรุปผลการระดมทรัพยากรทางการศึกษา และฉบับที่ 4 แบบประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า 1) ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการเป็นการประเมินก่อนการดำเนินโครงการ เกี่ยวกับความพร้อม ความเพียงพอ และความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และระยะเวลาในการดำเนินโครงการตามความคิดเห็นของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู และคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ผลปรากฎว่าการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านคลองพลู(วิศิษฐ์วิทยาทาน)โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, =0.67) เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็นตัวชี้วัดพบว่าประเด็นงบประมาณมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =4.64, =0.69) รองลงมาคือประเด็น บุคลากรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด( =4.62, =0.67) ส่วนประเด็นวัตถุประสงค์ของโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( =4.58, =0.65) 2) ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการในระหว่างการดำเนินโครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามขั้นตอนต่างๆในโครงการตามวงจรคุณภาพ PDCA ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู และคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ปรากฏผลว่าการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านคลองพลู(วิศิษฐ์วิทยาทาน)โดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.61, =0.67) เมื่อพิจารณา แต่ละประเด็นตัวชี้วัดพบว่าประเด็นการปรับปรุง แก้ไข มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =4.63, =0.68) รองลงมาคือประเด็นการวางแผน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.62, =0.66) ส่วนประเด็นการการตรวจสอบ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( =4.58, =0.66) 3) ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเป็นการประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ เกี่ยวกับทรัพยากรที่ระดมมาได้ 3 ด้านคือ ด้านบุคคล ด้านการเงิน และด้านวัสดุอุปกรณ์โดยใช้จำนวนของทรัพยากรที่ระดมมาได้ตามสภาพจริง เปรียบเทียบกับจำนวนของทรัพยากรตามเป้าหมายของโครงการที่คาดว่าจะได้รับ และต้องผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ผลการประเมินโดยรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อพัฒนาเป็นรายด้าน พบว่า ทรัพยากรที่ระดมได้ผ่านเกณฑ์ ที่กำหนดทุกด้าน 4) ผลการประเมินด้านผลลัพธ์ของโครงการ เป็นการประเมินหลังจากโครงการเสร็จสิ้นและได้นำทรัพยากรไปใช้พัฒนาโรงเรียนครบทุกด้านแล้ว โดยการเปรียบเทียบมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านคลองพลู(วิศิษฐ์วิทยาทาน)
ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2560 โดยรวมพบว่า ปีการศึกษา 2558อยู่ในระดับคุณภาพ 4 ดีมากมีค่าร้อยละเท่ากับ 88.12 และปีการศึกษา 2560 อยู่ในระดับคุณภาพ 5 ดีเยี่ยม มีค่าร้อยละเท่ากับ 94.76 แสดงว่าระดับคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลังดำเนินโครงการสูงกว่าก่อนดำเนินโครงการ โดยสรุปก็คือ ผลจากการจัดทำโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านคลองพลู(วิศิษฐ์วิทยาทาน)ทำให้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนบ้านคลองพลู(วิศิษฐ์วิทยาทาน)สูงขึ้น
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดด้อย เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษา ในโรงเรียนตามความเหมาะสม
1.2 ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของโครงการ ควรยกย่องเชิดชูเกียรติ ให้การช่วยเหลือสนับสนุนโครงการด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินและวิจัยครั้งต่อไป
2.2 ควรนำการประเมินโครงการรูปแบบไอปู้ (IPOO Model) ไปประเมินโครงการอื่นๆ ตามนโยบายของโรงเรียนต่อไป เพื่อให้ทราบข้อดี ข้อบกพร่อง และประสิทธิภาพของโครงการที่ประเมิน และสร้างการปฏิบัติที่ชัดเจนวัดผลได้