การวิจัยและการพัฒนาทักษะการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย
โดยใช้กิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
ผู้วิจัย นางยินดี บัวขวัญ
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
รายงานการวิจัยและการพัฒนาทักษะการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาทักษะการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยเทียบเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยและการพัฒนาในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลวัดนิโครธาราม สังกัดเทศบาลเมืองพัทลุง จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาจากวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและการพัฒนา คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นแผนการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาด้านการฟังและการพูด 2)หนังสือนิทานพื้นบ้านประกอบภาพ จำนวน 2 เล่ม 3)แบบประเมินก่อนและหลังการทักษะการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้าน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยและการพัฒนาพบว่า นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้านมีความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูดโดยภาพรวมและรายด้าน ด้านการฟัง โดยภาพรวมหลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 89.50ด้านการพูด โดยภาพรวมหลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 95.00 ความสามารถทางภาษาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังจัดกิจกรรมโดยใช้นิทานพื้นบ้านด้านการฟัง การพูด สูงกว่าความสามารถทางภาษาก่อนการจัดกิจกรรมโดยใช้นิทานพื้นบ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้าน
1) หนังสือนิทานพื้นบ้านประกอบภาพที่สร้างขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย มีจำนวน 2 เล่ม คือเรื่อง เรื่องที่ 1 ตำนานเขาอกทะลุ และเรื่องที่ 2 นางเลือดขาว มีลักษณะการเสนอภาพแบบเรื่องราวบรรยายใต้ภาพ
2) การใช้หนังสือนิทานพื้นบ้านประกอบภาพเพื่อพัฒนาทักษะด้านการฟังและการพูด ตามหัวข้อประเมิน 7 ข้อ มีรายละเอียดดังนี้
2.1) มีความตั้งใจฟังนิทานที่ครูเล่าได้ มีค่าเฉลี่ย ก่อนการทดลอง เท่ากับ 1.58 และหลังการทดลอง เท่ากับ 2.65 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.07 ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ก่อนการทดลอง เท่ากับ 0.50 และหลังการทดลอง เท่ากับ 0.48 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานน้อยลง 0.02
2.2) มีความสนใจที่จะให้ครูเล่านิทานให้ฟัง มีค่าเฉลี่ย ก่อนการทดลอง เท่ากับ 1.63 และหลังการทดลอง เท่ากับ 2.67 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.04 ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ก่อนการทดลอง เท่ากับ 0.49 และหลังการทดลอง เท่ากับ 0.47 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานน้อยลง 0.02
2.3) พูดและตอบคำถามง่ายๆ จากเรื่องที่ฟังได้ มีค่าเฉลี่ย ก่อนการทดลอง เท่ากับ 1.60 และหลังการทดลอง เท่ากับ 2.70 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.10 ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ก่อนการทดลอง เท่ากับ 0.49 และหลังการทดลอง เท่ากับ 0.46 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานน้อยลง 0.03
2.4) สนทนาซักถามเกี่ยวกับสิ่งที่สนใจ มีค่าเฉลี่ย ก่อนการทดลอง เท่ากับ 1.60 และหลังการทดลอง เท่ากับ 2.67 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.07 ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ก่อนการทดลอง เท่ากับ 0.49 และหลังการทดลอง เท่ากับ 0.47 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานน้อยลง 0.02
2.5) บอกชื่อตัวละครในนิทานพื้นบ้านได้ มีค่าเฉลี่ย ก่อนการทดลอง เท่ากับ 1.60 และหลังการทดลอง เท่ากับ 2.67 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.07 ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ก่อนการทดลอง เท่ากับ 0.49 และหลังการทดลอง เท่ากับ 0.47 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานน้อยลง 0.02
2.6) แสดงบทบาทสมมติได้อย่างสนุกสนาน มีค่าเฉลี่ย ก่อนการทดลอง เท่ากับ 1.56 และหลังการทดลอง เท่ากับ 2.65 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.05 ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ก่อนการทดลอง เท่ากับ 0.49 และหลังการทดลอง เท่ากับ 0.48 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานน้อยลง 0.01
2.7) กล้าพูด กล้าแสดงออกของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้าน มีค่าเฉลี่ย ก่อนการทดลอง เท่ากับ 1.56 และหลังการทดลอง เท่ากับ 2.65 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.09 ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ก่อนการทดลอง เท่ากับ 0.50 และหลังการทดลอง เท่ากับ 0.48 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานน้อยลง 0.02