ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 48 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จำนวน 6 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งมีความเชื่อมั่น 0.77 และแบบสอบถามระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่สร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยการวิเคราะห์ คะแนนระหว่างเรียน และคะแนนจากการทดสอบหลังเรียนด้วยแบบทดสอบหลังเรียน โดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพใช้สูตร E1/E2 กำหนดเกณฑ์มาตรฐานเท่ากับ 80/80 วิเคราะห์คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจาก การทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน โดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t – test) วิเคราะห์ผลการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อ การเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่สร้างขึ้นโดยการหาค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.38/83.96 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.42