การนิเทศแบบCo–5 Step สู่ความสำเร็จในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ชื่อผู้วิจัย นางปรวีณ เลิศสุข
ชื่อหน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษร์ธานี เขต 2
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพการนิเทศแบบ Co - 5 Step สู่ความสำเร็จในการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยตามขั้นตอนการนิเทศแบบ Co - 5 Step สู่ความสำเร็จ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 ที่มีต่อการดำเนินการนิเทศแบบ Co - 5 Step สู่ความสำเร็จในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นครูปฐมวัยในโรงเรียนโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ปีการศึกษา 2560 ที่เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 32 โรงเรียน จำนวนครูปฐมวัย 57 คน และเป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 32 โรงเรียน จำนวนครูปฐมวัย จำนวน 61 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) คู่มือนิเทศแบบ Co – 5 Step สู่ความสำเร็จในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 2) เครื่องมือนิเทศ ติดตามผล และเก็บรวบรวมข้อมูลผลการพัฒนาการนิเทศแบบ Co - 5 Step สู่ความสำเร็จในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ประกอบด้วย 2.1) แบบทดสอบความรู้ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย 2.2) แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูปฐมวัย 2.3) แบบสอบถามสภาพการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 2.4) แบบสังเกตชั้เรียนและวิเคราะห์การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัย 2.5) แบบประเมินคุณภาพเด็กปฐมวัย 2.6) แบบประเมินความพึงพอใจ การนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย แบบ Co - 5 Step สู่ความสำเร็จ 2.7) แบบประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้โครงงานสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์
ผลการวิจัยพบว่า
1.วิธีการนิเทศแบบ Co - 5 Step สู่ความสำเร็จในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย มีคุณภาพในระดับมากที่สุด และรายด้านมีคุณภาพในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงตามลำดับ ดังนี้ 1) กระบวนการพัฒนา 2) ผลของกิจกรรมการนิเทศ ขั้นที่ 1-5 3) แนวคิดการพัฒนา 4) คุณค่าและประโยชน์
2. ผลการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยตามขั้นตอนการนิเทศแบบ Co - 5 Step สู่ความสำเร็จ พบว่า 2.1) ครูปฐมวัยที่ได้รับการนิเทศแบบ Co - 5 Step สู่ความสำเร็จ มีความรู้ ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ก่อนและหลังการพัฒนา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.2) ครูปฐมวัยที่ได้รับการนิเทศแบบ Co - 5 Step สู่ความสำเร็จ มีควาสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย โดยรวมอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) = 3.35 2.3) ผลสำเร็จของการพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยที่ได้รับการนิเทศแบบ Co - 5 Step สู่ความสำเร็จ โดยรวมมีความสอดคล้องภายในของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ครั้งที่ 1 ร้อยละ 75.56 ครั้งที่ 2 ร้อยละ 93.94 มีความก้าวหน้า ร้อยละ17.78 2.4) ผลการประเมินคุณภาพเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กปฐมวัยมีความสามารถพื้นฐาน ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) = 3.59
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของครูปฐมวัยที่มีต่อการดำเนินการนิเทศแบบ Co - 5 Step สู่ความสำเร็จในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมทุกกิจกรรมการนิเทศ ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( ) = 4.49 โดยเรียงตามลำดับ ดังนี้ 1) ขั้นที่ 2 ร่วมสร้างความเข้าใจ ( Co – Understanding ) 2) ขั้นที่ 1 ร่วมสร้างแรงจูงใจ ( Co – Motivation ) 3) ขั้นที่ 3 ร่วมสร้างความสัมพันธ์อย่างเข้าถึง ( Co – Connecting ) 4) ขั้นที่ 4 ร่วมพัฒนา ( Co - Development)
และ 5) ขั้นที่ 5 ร่วมภาคภูมิใจ ( Co – Proudly )