การสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านจากนิทานพื้นบ้านจังหวัดพัทลุง เพื
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่านจากนิทานพื้นบ้านจังหวัดพัทลุง เพื่อพัฒนาความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 80/80 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560 ของโรงเรียนบ้านหารเทา (จรุงราษฎร์ดำเนิน) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 จำนวน 27 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง(Purposive Sampling) เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) หนังสือส่งเสริมการอ่านจากนิทานพื้นบ้านจังหวัดพัทลุง จำนวน 7 เรื่อง 2) คู่มือการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านนิทานพื้นบ้านจังหวัดพัทลุง เพื่อพัฒนาความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 16 ชั่วโมง 3) แบบฝึกหัดหลังการอ่านหนังสือส่งเสริมการอ่าน 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่านที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้ค่า E1 และ E2 หาค่าประสิทธิภาพของเครื่องมือ และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยการทดสอบแบบที (t - test)
ผลการวิจัยพบว่า หนังสือส่งเสริมการอ่านนิทานพื้นบ้านจังหวัดพัทลุง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.55/83.64 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังจากใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนมีความพึงพอใจในการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านจากนิทานพื้นบ้านอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.94, S.D = 0.19)