LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

รายงานการประเมินโครงการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านบริหารชนบท
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1
ผู้ศึกษา     สมัคร์ รู้รักดี
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ

โรงเรียนบ้านบริหารชนบท เป็นโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กได้ดำเนินงานโครงการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระหว่างปีการศึกษา 2559 - 2560 โดยมุ่งหวังให้การพัฒนาระบบการดำเนินงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนดำเนินงานไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทราบผลการดำเนินงาน และสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจ กำหนดแผนงาน โครงการ กิจกรรม ตลอดทั้งนวัตกรรม การพัฒนาประสิทธิภาพการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อันจะส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียน จำเป็นที่ต้องตรวจสอบผลการดำเนินโครงการ อย่างเป็นระบบตามรูปแบบการประเมินโครงการ ซึ่งการประเมินผล
การดำเนินโครงการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาประเมินผลการดำเนินงานโครงการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านบริหารชนบทสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1และ
2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการดำเนินงานโครงการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านบริหารชนบท
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบ
CIPP Model
    ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครู จำนวน
7 คน ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 70 คน และ นักเรียน จำนวน 70 คน รวมทั้งสิ้น 147 คน ได้มา
โดยการเทียบตารางของ R.V. Krejcieและ D.W. Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้
เป็นแบบสอบถามประเมินโครงการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านบริหารชนบท
ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามวิธีของลิเคอร์ท(Likert)
จำนวน 40 ข้อ โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
    การศึกษาสภาพการดำเนินงานโครงการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านบริหารชนบทแยกพิจารณาผลการศึกษาตามกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน และ
ภาพรวม มีประเด็นที่นำมาอภิปรายผลดังนี้
สรุปผลการศึกษาการประเมินผลการดำเนินงานโครงการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านบริหารชนบท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 ด้านสภาวะแวดล้อม ก่อนดำเนินงานโครงการ มีความสอดคล้องของวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการอยู่ในระดับปานกลางและหลังดำเนินงานโครงการมีความสอดคล้องของวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการอยู่ในระดับมาก ด้านปัจจัยการดำเนินงาน
ก่อนดำเนินงานโครงการ มีความเหมาะสมด้านงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์บุคลากรและวิธีดำเนินการ อยู่ในระดับปานกลาง และหลังดำเนินงานโครงการ มีความเหมาะสมด้านงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์บุคลากรและวิธีดำเนินการ อยู่ในระดับมาก ด้านกระบวนการดำเนินงาน ก่อนดำเนินงานโครงการ มีความเหมาะสมในส่วนของการปฏิบัติ ในด้านกระบวนการ อยู่ในระดับปานกลางและหลังดำเนินงานโครงการ มีความเหมาะสมในส่วนของการปฏิบัติในด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก ด้านผลผลิตของโครงการก่อนดำเนินโครงการ มีความ
พึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางและหลังดำเนินโครงการ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และสรุปผลการดำเนินงานโครงการภาพรวมทั้ง 4 ด้าน ก่อนดำเนินงานโครงการ มีความสอดคล้อง เหมาะสม เพียงพอและพึงพอใจ อยู่ในระดับปานกลาง และหลังดำเนินงานโครงการโดยรวมทุกด้าน มีความสอดคล้อง เหมาะสม เพียงพอและพึงพอใจ อยู่ในระดับดีมากทุกด้าน และผลการดำเนินงานในแต่ละด้าน ปรากฏผลดังนี้
    1.1 ผลการดำเนินงานในด้านสภาวะแวดล้อมโครงการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และสภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านบริหารชนบท โดยรวมก่อน
การดำเนินงาน มีค่าความสอดคล้อง เฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดย ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
มีผลต่อการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และพบว่า มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ โรงเรียนมีการวิเคราะห์สภาพความพร้อม พื้นฐานของโรงเรียนเพื่อเป็นสารสนเทศในการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และหลังการดำเนินงาน โดยมีค่าความสอดคล้อง เฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีผลต่อการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชน
มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และพบว่าค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชนหรือผู้เกี่ยวข้อง ให้ความร่วมมือในการประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน
    1.2 ผลการดำเนินงานในด้านปัจจัยการดำเนินงานโครงการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และสภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านบริหารชนบท โดยรวมก่อน
การดำเนินงาน มีค่าความเหมาะสมเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดย โรงเรียนมีสื่อ เครื่องมือ สำหรับผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองในการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และพบว่า มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ โรงเรียนมีการประเมินสถานการณ์และแก้ปัญหาอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพใน
การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และหลังการดำเนินงาน มีค่าความเหมาะสมเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก โดยโรงเรียนมีสื่อ เครื่องมือ สำหรับผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองในการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และพบว่าค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่โรงเรียนมีสื่อ เครื่องมือ สำหรับผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองในการคัดกรองนักเรียน
    1.3 ผลการดำเนินงานในด้านกระบวนการดำเนินงาน โครงการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และสภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านบริหารชนบท โดยรวม
ก่อนการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยของการปฏิบัติรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมนักเรียนที่หลากหลาย มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และพบว่า มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ โรงเรียนมีการกำหนดบทบาท ภาระหน้าที่ของคณะกรรมการ และทีมงานที่ชัดเจน และหลังการดำเนินงานมีค่าเฉลี่ย
ของการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมาก คือโรงเรียนมีการนำผลการนิเทศ กำกับ ติดตาม ผลการประเมิน
มาปรับปรุง และประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และพบว่าค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่โรงเรียนจัดให้มีการประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน เพื่อประสานงาน ป้องกัน แก้ปัญหาและช่วยเหลือนักเรียน อย่างสม่ำเสมอ


    1.4 ผลการดำเนินงานในด้านผลผลิตของโครงการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ
สภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านบริหารชนบท โดยรวมก่อนการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยรวมของความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง โดยนักเรียนปฏิบัติตนในฐานะสมาชิกที่ดีของชุมชน/สังคม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และพบว่ามีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ นักเรียนสามารถวิเคราะห์ ตัดสินใจ
ในการเข้าร่วมหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม และหลังการดำเนินงานมีค่าเฉลี่ยรวมของ
ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยนักเรียนกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และพบว่าค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่นักเรียนสามารถวิเคราะห์ ตัดสินใจในการเข้าร่วมหรือทำกิจกรรม
ต่าง ๆได้อย่างเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ และผลการดำเนินงานโดยเฉลี่ยรวมแยกรายด้านของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และสภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน
บ้านบริหารชนบท ก่อนการดำเนินงานมีค่าเฉลี่ยของความเหมาะสม การปฏิบัติและความพึงพอใจ โดยรวม
อยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านสภาวะแวดล้อมการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และพบว่า ค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านผลผลิตการดำเนินงานของโครงการและหลังการดำเนินงานมีค่าเฉลี่ยของความเหมาะสม การปฏิบัติและความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านสภาวะแวดล้อมการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และพบว่า มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านผลผลิตการดำเนินงานของโครงการ
2. การศึกษาข้อเสนอแนะ ในการดำเนินงานโครงกาจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จาก ผู้ปกครองนักเรียน นักเรียน และครู เรียงลำดับความถี่จากมากไปหาน้อย ดังนี้
    2.1 ข้อเสนอแนะจากผู้ปกครองนักเรียน
2.1.1 อยากให้ทางโรงเรียนจัดหาทุนการศึกษาให้กับนักเรียนเพิ่มมากขึ้น
2.1.2 เด็กนักเรียนกล้าแสดงออก ดีมาก
2.1.3 ครูดูแลนักเรียนได้ดีมาก อยากให้รักษามาตรฐานอย่างนี้ตลอดไป
2.1.4 ควรมีการอบรมปฏิบัติการการใช้และแปลผลแบบประเมินพฤติกรรมนักเรียน
2.1.5 อยากให้ช่วยแนะแนวด้านการศึกษาต่อ ให้นักเรียนสามารถเรียนจนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
2.1.6 อยากให้โรงเรียนให้การบ้านนักเรียนเพิ่มขึ้น
2.1.7 อยากให้ช่วยฝึกนักเรียนในการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
2.1.8 อยากให้คุณครูออกเยี่ยมบ้านเดือนละ 1 ครั้ง เพราะนักเรียนจะสนใจช่วยพ่อแม่
ทำงานบ้านเมื่อทราบว่าครูจะมาเยี่ยมบ้าน
    2.1.9.อยากให้เข้มงวดเรื่องการแต่งกายของนักเรียนเพิ่มขึ้น
    2.1.10 ยังมีนักเรียนบางส่วนที่ยังมีความประพฤติไม่ดี ก้าวร้าว ควรแก้ไขให้หมดไป
    2.1.11 อยากให้ครูดูแลนักเรียนในช่วงการร่วมกิจกรรมเนื่องจากความประพฤติ
ไม่เรียบร้อย คือ เสียงดัง
2.2ข้อเสนอแนะจากนักเรียน
2.2.1 โรงเรียนมีการดำเนินงานระบบดูแลนักเรียนได้ดีมาก
2.2.2 อยากให้โรงเรียนจัดโครงการนี้ขึ้นทุกปี
2.2.3 โรงเรียนมีการแจ้งให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการเป็นอย่างดี
2.2.4 โรงเรียนให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการอย่างหลากหลาย
2.2.5 โรงเรียนมีการส่งเสริมให้นักเรียนได้จัดกิจกรรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ที่หลากหลาย ทำให้ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้
2.2.6 โรงเรียนมีการดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งเด็กที่มีความบกพร่องทาง
การเรียนรู้ก็จัดให้มีครูสอนเฉพาะ
2.2.7 ครูได้ไปเยี่ยมบ้าน ทำให้ได้รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลและได้รู้จักผู้ปกครอง
2.2.8 เวลาครูไปเยี่ยมบ้านทำให้รู้สึกประทับใจที่ครูเอาใจใส่นักเรียนทุกคน
2.2.9 ครูให้ความสนใจในการเอาใจใส่นักเรียนดีมากทั้งในห้องเรียนและเวลาไปเยี่ยมบ้าน
2.2.10 ครูให้คำปรึกษากับนักเรียนที่มีปัญหาทางด้านความประพฤติและการเรียนดีขึ้น
2.3ข้อเสนอแนะจากครู
2.3.1 โรงเรียนควรมีการดำเนินงานโครงการนี้ต่อไปเพื่อความต่อเนื่อง
2.3.2 โรงเรียนควรส่งเสริมให้บุคลากรได้มีโอกาสได้เข้ารับการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องในเรื่องการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
2.2.3 โรงเรียนควรมีการประชาสัมพันธ์และเชิญชวนคณะกรรมการสถานศึกษาเข้ามา
มีส่วนร่วมในโครงการให้มากขึ้นในเรื่องการจัดทำเครื่องมือคัดกรองนักเรียน
2.2.4 โรงเรียนควรมีการพัฒนาเครื่องมือในการคัดกรองนักเรียนให้ทันสมัยอยู่เสมอ
2.2.5 โรงเรียนควรมีการติดตามนักเรียนที่ทำการส่งต่อให้มีความต่อเนื่องเพื่อการเอาใจใส่นักเรียนและช่วยเหลือนักเรียนอย่างจริงจัง
2.2.6 โรงเรียนควรดูแลนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้วยกิจกรรมที่ทันสมัยเพิ่มขึ้น
2.2.7 โรงเรียนควรดำเนินกิจกรรมที่เป็นการดูแลนักเรียนให้มีความต่อเนื่องต่อไป
2.2.8 โรงเรียนควรจัดกิจกรรมให้หลากหลายมากขึ้นเพื่อพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถเฉพาะด้าน

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^