การสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระกา
การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นายอำนวย ศรีสวัสดิ์
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดคลองเรียน) เทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ปีการศึกษา 2555
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตลอดจนศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดคลองเรียน) จำนวน 40 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555ได้มาโดย การสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 40 ข้อ แบบทดสอบท้ายหน่วย หน่วยละ 10 ข้อ จำนวน 120 ข้อ และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยเองด้วยการให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และให้นักเรียนตอบแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมุติฐานในการทดสอบทีแบบไม่อิสระ สถิติที่ให้หาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ การหาค่าความเที่ยงตรงตามสูตรของ IOC การหาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบตามสูตร KR-20 หาค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามตามสูตรอัลฟา และสถิติหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนใช้
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้กลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.09/83.36 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่าคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) การศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก