รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Cippa Model
ร่วมกับหนังสือนิทานอาเซียน
ผู้ศึกษา นางพวงน้อย หมะสมาน
ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนเทศบาลตำบลนาทวี สังกัดกองการศึกษา
เทศบาลตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ปีที่ศึกษาค้นคว้า 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Cippa Model ร่วมกับหนังสือนิทานอาเซียน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Cippa Model ร่วมกับหนังสือนิทานอาเซียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Cippa Model ร่วมกับหนังสือนิทานอาเซียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนเทศบาลตำบลนาทวี จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่มตัวอย่าง (Cluster Random Sampling Unit) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Cippa Model ร่วมกับหนังสือนิทานอาเซียน จำนวน 20 แผน 2) หนังสือนิทานอาเซียน จำนวน10 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความ จำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 0.80 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)การทดสอบค่าที (t - test) แบบ Dependent Group
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Cippa Model ร่วมกับหนังสือนิทานอาเซียน มีประสิทธิภาพ 81.08/81.67 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความหลังการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Cippa Model ร่วมกับหนังสือนิทานอาเซียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่าน จับใจความโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Cippa Model ร่วมกับหนังสือนิทานอาเซียน อยู่ในระดับมาก ( =4.20, S.D.=0.12)