รายงานการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
ผู้ศึกษา วิรุณศิริ สารผล
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2560
โรงเรียน พิพัฒน์ราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1
บทคัดย่อ
การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะ ชุด Fun With Words กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยมีความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า 1). เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะ ชุด Fun With Words ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อหาประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะ ชุด Fun With Words ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น 3). เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)โดยใช้แบบฝึกทักษะ ชุด Fun With Words ระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะ ชุด Fun With Words ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/3 โรงเรียนพิพัฒน์ราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 28 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือในการศึกษาในครั้งนี้คือ แบบฝึกทักษะ ชุด Fun With Words แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การใช้แบบฝึกทักษะ ชุด Fun With Words แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ชุด Fun With Words และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะ ชุด Fun With Words ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Sample)
ผลการศึกษา พบว่า
1. แบบฝึกทักษะ ชุด Fun With Words ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 83.57/83.21
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะ ชุด Fun With Words เท่ากับ 0.6941
3. นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะ ชุด Fun With Words ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ ชุด Fun With Words ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 ซึ่งอยู่ในระดับที่เหมาะสมมากที่สุด
โดยสรุปการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ ชุด Fun With Words ที่พัฒนาขึ้นเป็นนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน สมควรนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตรต่อไป