เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
เป็นสาระหลักในการจัดการเรียนรู้ ดังนั้นวิทยาศาสตร์จึงมีบทบาทสาคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและ
อนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับทุกคนทั้งในชีวิตประจา วันและการงานอาชีพต่าง ๆ ตลอดจน
เทคโนโลยี เครื่องมือเครื่องใช้และผลผลิตต่าง ๆ ที่มนุษย์ได้ใช้เพื่ออา นวยความสะดวกในชีวิตและการ
ทา งาน เหล่านี้ล้วนเป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์ ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่น ๆ
วิทยาศาสตร์ช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็ นเหตุเป็ นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์
วิจารณ์ มีทักษะสาคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและมีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ วิทยาศาสตร์เป็น
วัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (K knowledge - based society) ดังนั้นทุกคน
จึงจาเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น สามารถนาความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์ และมีคุณธรรม (สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2551)
ผู้ศึกษาเป็นครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดราษฎร์บูรณะ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ได้วิเคราะห์ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในปีการศึกษา 2559 ที่ผ่านมา พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปลายปีเฉลี่ยร้อยละ 66.37 (โรงเรียนวัดราษฎร์บูรณะ, 2559) ซึ่งพบว่ายังต่ากว่าที่โรงเรียนกาหนดไว้ คือ ร้อยละ 70 ผู้ศึกษาจึงได้วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่าในสาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดารงชีวิต จากการสังเกตการจัดการเรียนรู้ครูจะเน้นวิธีการสอนแบบบรรยาย โดยให้นักเรียนรับฟังข้อมูลเพียงอย่างเดียว ไม่ได้เน้นการลงมือปฏิบัติจริงเท่าที่ควร และให้ศึกษาเฉพาะในหนังสือเรียน จากนั้นก็ตอบคาถาม ทาให้การเรียนภายในห้องเรียนเกิดความเบื่อหน่าย นักเรียนขาดความกระตือรือร้น และความสนใจในเนื้อหาที่เรียน ไม่มีสิ่งเร้าหรือกระตุ้นการเรียนรู้ให้กับนักเรียน พร้อมทั้งนักเรียนยังขาดทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการแก้ปัญหา จากผลการสังเกตภายใช้เรียนที่สร้างสถานณ์ต่างๆ ให้นักเรียนคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา นักเรียนจะไม่ค่อยกล้าตอบ เพราะกลัวคาตอบนั้นจะผิด ซึ่งจะส่งผลต่อคะแนนตนเอง พร้อมทั้งภายในชั้นเรียนนักเรียนเก่งและนักเรียนแยกกันเป็นกลุ่มๆ อย่างชัดเจน ทาให้การจัดกระบวนการเรียนรู้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์
จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชุดกิจกรรม โดยพบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู และส่งเสริมพัฒนาให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยเปิดโอกาสให้นักเรียนศึกษาและปฏิบัติกิจกรรมที่หลากหลาย จากชุดกิจกรรมทาให้นักเรียนไม่เบื่อหน่ายที่จะเรียน แต่มีความกระตือรือร้นที่จะค้นคว้าหาคาตอบด้วยตนเองซึ่งเป็นการเรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นสาคัญตามศักยภาพของแต่ละคน ขึ้น และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันได้ เกิดการเรียนรู้และปฏิบัติจริง ชุดกิจกรรมจะช่วยทาให้ผู้เรียนมีอิสระ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทากิจกรรมโดยใช้ความสามารถตามความต้องการของตน ได้ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันได้ (เบญจวรรณ ใจหาญ, 2550)
จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชุดกิจกรรม โดยพบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนด้วยตนเองได้ตามอัตภาพตามความสามารถแต่ละบุคคลตามความสนใจคานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล นักเรียนมีโอกาสแสดงความคิดเห็นตัดสินใจแสวงหาความรู้ด้วยตนเองส่งเสริมและฝึกความรับผิดชอบนักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่นักเรียนเป็นศูนย์กลาง พร้อมทั้งได้ฝึกและรู้คาตอบทันทีสามารถทาความเข้าใจใหม่ทันทีทันใดประหนึ่งได้รับการซ่อมเสริม ฝึกทักษะการอ่านไม่ต้องคอยการบรรยายของครูไม่ต้องเบื่อจากการที่ครูอธิบายซ้าซาก สีสันจากภาพในชุดกิจกรรมดึงดูดให้ผู้เรียนสนใจไม่เบื่อรับคาแนะนาในการทากิจกรรมแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ และทากิจกรรมแล้วรู้ผล ได้รับการเสริมแรงทันใดทาให้อยากศึกษาค้นคว้าต่อไป (พักต์วิภา ตะเพียนทอง, 2549) เพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ ผู้ศึกษาจึงใช้ชุดกิจกรรม ร่วมกับรูปแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยผ่านกระบวนการคิดการปฏิบัติและใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ เชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้เข้ากับประสบการณ์หรือความรู้เดิม เป็นความรู้หรือแนวคิดของผู้เรียนมี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) เป็นการนาเข้าสู่บทเรียนซึ่งอาจเกิดความสนใจ ความสงสัย จากเหตุการณ์ที่กาลังเกิดขึ้น เป็นการกระตุ้นให้เกิดความสนใจใคร่รู้ นาไปสู่ประเด็นที่จะศึกษาค้นคว้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ขั้นที่ 2 ขั้นสารวจและค้นหา (Exploration) เป็นการทาความเข้าใจในประเด็นที่ศึกษา วิธีการศึกษาอาจเป็นการตรวจสอบ การทดลอง การปฏิบัติ การสืบค้นความรู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างพอเพียงในการที่จะใช้ในขั้นต่อไป ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) เป็นการนาข้อมูลข้อสนเทศที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนาเสนอในรูปภาพวาด แผนภูมิ แผนผังความคิด ผลที่ได้สามารถสร้างความรู้ และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) เป็นการนาความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิม หรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม หรือนาข้อสรุปไปอธิบายสถานการณ์เหตุการณ์ต่าง ๆ ทาให้เกิดความรู้ที่กว้างขึ้น และขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล (Evaluation) เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่าง ๆ ว่ามีความรู้อะไรบ้าง รู้มากน้อยเพียงใดและนาไปประยุกต์ความรู้สู่เรื่องอื่น ๆ (นิพัทธา ชัยกิจ, 2551)
จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงได้สร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) เรื่องระบบร่างกายมนุษย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อให้ผู้เรียนค้นหาความรู้ด้วยตัวเอง สามารถสร้างองค์รู้ใหม่โดยเชื่อมโยงกับประสบการณ์ความรู้เดิม และพัฒนาต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้นจากเดิม มีทักษะกระบวนการทางานกลุ่ม มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต่อไป