การเผยแพร่ผลงานวิชาการ
ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
ผู้วิจัย นางกมลวรรณ อิกะศิริ
ปีที่ศึกษาค้นคว้า 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาคุณภาพของหนังสือนิทานคำคล้องจองเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด โดยใช้หนังสือนิทานคำคล้องจองเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือนิทานคำคล้องจองเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านตันหยงกาโบยชัยพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 33 คน ซึ่งเป็นห้องเรียนที่ผู้วิจัยเป็นครูประจำชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หนังสือนิทานคำคล้องจองเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 10 เล่ม 2) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือนิทานคำคล้องจองเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 20 แผน
3) แบบทดสอบวัดทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.20-0.80 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ (%) และค่าประสิทธิภาพของหนังสือนิทานคำคล้องจองเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด ( / )
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณภาพของหนังสือนิทานคำคล้องจองเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและ การพูด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน มีความเห็นว่าหนังสือนิทานคำคล้องจองเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด มีความสอดคล้องที่ค่า IOC ระหว่าง 0.66 ถึง 1.00
2. แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือนิทานคำคล้องจองเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน มีความเห็นว่าแผนการจัดประสบการณ์ทั้ง 20 แผน มีความเหมาะสมในระดับ 3.41 ถึง 4.20 ที่ค่าเฉลี่ย = 4.17 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.24 เมื่อนำแผนการจัดประสบการณ์ที่มีประสิทธิภาพไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง พบว่าแผนการจัดประสบการณ์มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.07/81.82
3. การเปรียบเทียบทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือนิทานคำคล้องจองเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 พบว่าทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือนิทานคำคล้องจองเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด โดยมีคะแนนความแตกต่างคิดเป็นร้อยละ 46.22