LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

การนิเทศแบบCo–5 Stepสู่ความสำเร็จในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

usericon

ชื่อเรื่อง การนิเทศแบบ Co – 5 Step สู่ความสำเร็จ ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
ชื่อผู้วิจัย นางปรวีณ เลิศสุข
ชื่อหน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2
ปีที่วิจัย 2560

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพการนิเทศแบบ Co - 5 Step สู่ความสำเร็จ ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ตามขั้นตอนการนิเทศแบบ Co - 5 Stepสู่ความสำเร็จ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 ที่มีต่อการดำเนินการนิเทศแบบ Co - 5 Step สู่ความสำเร็จ ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นครูปฐมวัยในโรงเรียนโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ปีการศึกษา 2560 จำนวน 32 โรงเรียน จำนวนครูปฐมวัย57 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) คู่มือนิเทศแบบ Co – 5 Step สู่ความสำเร็จ ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 2) เครื่องมือนิเทศ ติดตามผล และเก็บรวบรวมข้อมูลผลการพัฒนาการนิเทศแบบ Co - 5 สู่ความสำเร็จ ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ประกอบด้วย 2.1) แบบทดสอบความรู้ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย 2.2) แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ของครูปฐมวัย 2.3) แบบสอบถามสภาพการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 2.4) แบบสังเกตชั้นเรียนและวิเคราะห์การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัย 2.5) แบบประเมินคุณภาพเด็กปฐมวัย 2.6) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการนิเทศแบบ Co - 5 Step สู่ความสำเร็จ ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
ผลการวิจัยพบว่า
1.วิธีการนิเทศแบบ Co - 5 Step สู่ความสำเร็จในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย มีคุณภาพในระดับมากที่สุด และรายด้าน มีคุณภาพในระดับมากที่สุดทุกด้านเรียงตามลำดับ ดังนี้ 1)กระบวนการพัฒนา 2) ผลของกิจกรรมการนิเทศ ขั้นที่ 1-5 3) แนวคิดการพัฒนา 4) คุณค่าและประโยชน์ 2. ผลการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยตามขั้นตอนการนิเทศแบบ Co - 5 Step สู่ความสำเร็จในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย พบว่า2.1) ครูปฐมวัยที่ได้รับการนิเทศแบบ Co - 5 Step สู่ความสำเร็จ มีความรู้ ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ก่อนและหลังการพัฒนา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.2) ครูปฐมวัยที่ได้รับการนิเทศแบบCo - 5 Step สู่ความสำเร็จ มีความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยโดยรวมอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย ( x ) = 3.35 2.3) ผลสำเร็จของการพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยที่ได้รับการนิเทศแบบ Co - 5 Step สู่ความสำเร็จโดยรวมมีความสอดคล้องภายในของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ครั้งที่ 1 ร้อยละ 75.56ครั้งที่ 2 ร้อยละ 93.94 มีความก้าวหน้า ร้อยละ17.78 2.4) ผลการประเมินคุณภาพเด็กปฐมวัยพบว่า เด็กปฐมวัยมีความสามารถพื้นฐาน ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย ( x ) = 3.593. ผลการประเมินความพึงพอใจของครูปฐมวัยที่มีต่อการดำเนินการนิเทศแบบ Co - 5Step สู่ความสำเร็จในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมทุกกิจกรรมการนิเทศ ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( x ) = 4.49 โดยเรียงตามลำดับ ดังนี้ 1) ขั้นที่2 ร่วมสร้างความเข้าใจ ( Co – Understanding ) 2) ขั้นที่ 1 ร่วมสร้างแรงจูงใจ ( Co – Motivation) 3) ขั้นที่ 3 ร่วมสร้างความสัมพันธ์อย่างเข้าถึง ( Co – Connecting ) 4) ขั้นที่ 4 ร่วมพัฒนา ( Co -Development) และ 5) ขั้นที่ 5 ร่วมภาคภูมิใจ ( Co – Proudly )
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^