ผลการสร้างและการใช้เอกสารประกอบการเรียนชุดใฝ่เรียนรู้สู่เศรษฐศาส
ชื่อผู้ศึกษา : นางนันท์นลิน เงินคำ
ปีการศึกษา : 2560
การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพเอกสารประกอบการเรียน ชุด ใฝ่เรียนรู้สู่เศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด ใฝ่เรียนรู้สู่เศรษฐศาสตร์ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน ชุด ใฝ่เรียนรู้สู่เศรษฐศาสตร์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยซ้อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 11 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ เอกสารประกอบการเรียน ชุด ใฝ่เรียนรู้สู่เศรษฐศาสตร์ จำนวน 10 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน ชุด ใฝ่เรียนรู้สู่เศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิธีดำเนินการ ผู้ศึกษาได้ทดสอบก่อนเรียน ดำเนินการจัดกิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ทั้งหมด 10 เล่ม ทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน และทดสอบหลังเรียน สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ได้แก่ การหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน ชุด ใฝ่เรียนรู้สู่เศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยซ้อ มีประสิทธิภาพโดยภาพรวมเท่ากับ 85.36/84.73 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80
2. ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด ใฝ่เรียนรู้สู่เศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยซ้อ พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน ทดสอบก่อนเรียนได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.73 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 34.32 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 36.64 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 91.59 และคะแนนความก้าวหน้าได้เท่ากับ 22.91 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 34.32
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อเอกสารประกอบการเรียน ชุด ใฝ่เรียนรู้สู่เศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยซ้อ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.90, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.23)