การพัฒนาชุดฝึกปฏิบัติการฝึกสัญญาณมือในการเรียกแถวของลูกเสือสากลใ
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาชุดฝึกปฏิบัติการฝึกสัญญาณมือในการเรียกแถวของลูกเสือสากลในกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 โรงเรียนบ้านท่าสว่าง
ชื่อผู้วิจัย : นายบรรจง ยาตรา
ปีที่วิจัย : ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
การพัฒนาชุดฝึกปฏิบัติการฝึกสัญญาณมือในการเรียกแถวของลูกเสือสากล ในกองลูกเสือสามัญ รุ่นใหญ่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านท่าสว่าง มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาชุดฝึกปฏิบัติการฝึกสัญญาณมือในการเรียกแถวของลูกเสือสากล ในกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านท่าสว่าง ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาชุดฝึกปฏิบัติการฝึกสัญญาณมือในการเรียกแถวของลูกเสือสากล ในกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน บ้านท่าสว่าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 75 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านท่าสว่าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
(Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า มี 2 ชนิด คือ
1) นวัตกรรมที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ ชุดฝึกปฏิบัติ เรื่องการฝึกสัญญาณมือในการเรียกแถวของลูกเสือสากล จำนวน 10 ชุด
2) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาการของลูกเสือสามัญใหญ่ จำนวน 12
แผนเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล มี 3 ชนิด คือ
1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการฝึกสัญญาณมือในการเรียกแถวของลูกเสือสากล เป็นแบบเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.47 และมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง(B) 0.20 ถึง 0.75 และ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.82
2) แบบวัดทักษะการทำงานกลุ่ม
3) แบบวัดความพึงพอใจ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการทดสอบค่า t – test
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นการศึกษาค้นคว้าโดยใช้รูปแบบการศึกษาค้นคว้าเชิงทดลอง ที่มีกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว มีการวัดผลก่อนและหลังเรียน ( One group pretest – posttest Design )
ผลการศึกษาค้นคว้าสรุปได้ดังนี้
1. ชุดฝึกปฏิบัติการ เรื่องการฝึกสัญญาณมือในการเรียกแถวของลูกเสือสากล ในกองลูกเสือสามัญ รุ่นใหญ่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.44/89.48 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียน เรื่องการฝึกสัญญาณมือในการเรียกแถวของลูกเสือสากล ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย 29.56 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 74.00 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจและมีแนวโน้มสูงขึ้น
3. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องการฝึกสัญญาณมือในการเรียกแถวของลูกเสือสากล ในกองลูกเสือสามัญ รุ่นใหญ่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ของคะแนนทดสอบ หลังเรียน สูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ .05
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน เรื่องการฝึกสัญญาณมือในการเรียกแถวของลูกเสือสากล ในกองลูกเสือสามัญ รุ่นใหญ่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ( = 4.19, S.D. = 0.12) เมื่อพิจารณาความพึงพอใจเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกด้าน ( = 4.17, 4.17, 4.17, 4.28 : S.D. = 0.23, 0.16, 0.32, 0.37)
โดยสรุป การพัฒนาชุดฝึกปฏิบัติการ เรื่องการฝึกสัญญาณมือในการเรียกแถวของลูกเสือสากล ในกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จะทำให้นักเรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาสาระได้ดีเพราะชุดฝึกปฏิบัติที่ใช้มีความเหมาะสมกับเนื้อหาที่เรียน และเหมาะสมกับนักเรียนทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น