รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมวินัยนักเรียน...
ผู้รายงาน นายมนตรี สำเภา
ปีที่รายงาน 2560
บทคัดย่อ
การรายงานการประเมินโครงการส่งเสริมวินัยนักเรียน เพื่อพัฒนาสู่การเป็นคนดีของสังคม ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ ดังนี้ (1) เพื่อประเมินบริบทด้านความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของโครงการส่งเสริมวินัยนักเรียน เพื่อพัฒนาสู่การเป็นคนดีของสังคม กับแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ(2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้า ที่ใช้ในโครงการส่งเสริมวินัยนักเรียน เพื่อพัฒนาสู่การเป็นคนดีของสังคม (3) เพื่อประเมินความเหมาะสมในการดำเนินการจัดกิจกรรมของโครงการส่งเสริมวินัยนักเรียน เพื่อพัฒนาสู่การเป็นคนดีของสังคม (4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมวินัยนักเรียน เพื่อพัฒนาสู่การเป็นคนดีของสังคม ในประเด็นต่อไปนี้ (4.1) เปรียบเทียบความรู้ เกี่ยวกับพฤติกรรมด้านระเบียบวินัย ก่อนและหลังดำเนินโครงการส่งเสริมวินัยนักเรียนเพื่อ พัฒนาสู่การเป็นคนดีของสังคม (4.2) ศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่เกิดจากโครงการส่งเสริมวินัยนักเรียน เพื่อพัฒนาสู่การเป็นคนดีของสังคม (4.3) ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการส่งเสริมวินัยนักเรียน เพื่อพัฒนาสู่การเป็นคนดีของสังคม (5) เพื่อประเมินผลกระทบที่เกิดจากโครงการส่งเสริมวินัยนักเรียนเพื่อพัฒนาสู่การเป็นคนดีของสังคม
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนเนินพิทยาคม จำนวน 25 คน นักเรียนโรงเรียนเนินพิทยาคม จำนวน 321 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเนินพิทยาคม จำนวน 321 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเนินพิทยาคม จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ แบบสอบถามที่ผู้รายงานสร้างขึ้น เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรมาตรฐาน(Standard Deviation) และค่าทดสอบ (t-test dependent)
ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านบริบท พบว่า ผู้เชี่ยวชาญ ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของโครงการส่งเสริมวินัยนักเรียน เพื่อพัฒนา
2. ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมวินัยนักเรียน เพื่อพัฒนาสู่การเป็นคนดีของสังคม โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีกิจกรรมที่ส่งเสริมวินัยนักเรียนทั้งสิ้น 8 กิจกรรม มีความเหมาะสม
3. ด้านกระบวนการ ในภาพรวมครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับ ความพร้อม ความเหมาะสมของกระบวนการของโครงการส่งเสริมวินัยนักเรียน เพื่อพัฒนาสู่การเป็นคนดีของสังคม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก กิจกรรมทั้ง 8 กิจกรรม มีความเหมาะสม
4. ด้านผลผลิต มีการประเมินนักเรียนใน 3 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย 1) ผลสัมฤทธิ์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ระเบียบวินัย นักเรียนประเมินตนเอง 2) การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 3) ความพึงพอใจต่อโครงการส่งเสริมวินัยนักเรียน เพื่อพัฒนาสู่การเป็นคนดีของสังคม โดยครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียน เป็นผู้ประเมิน เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน สรุปผลได้ดังนี้
4.1 การประเมินผลผลิตด้านผลสัมฤทธิ์ความรู้เกี่ยวกับ เรื่อง ระเบียบวินัย พบว่าค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน หลังเข้าร่วมโครงการส่งเสริมวินัยนักเรียน เพื่อพัฒนาสู่การเป็นคนดีของสังคม สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการส่งเสริมวินัยนักเรียน เพื่อพัฒนาสู่การเป็นคนดีของสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.2 การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เกิดกับนักเรียน ประกอบด้วย ด้านความมุ่งมั่นในการทำงาน ด้านความรับผิดชอบ ด้านความซื่อสัตย์สุจริต และด้านมีวินัย ในภาพรวมพบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ทั้ง 8 กิจกรรม ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 การประเมินผลผลิตด้านความพึงพอใจต่อโครงการส่งเสริมวินัยนักเรียน เพื่อพัฒนาสู่การเป็นคนดีของสังคม พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลผลิตด้านความพึงพอใจต่อโครงการส่งเสริมวินัยนักเรียน เพื่อพัฒนาสู่การเป็นคนดีของสังคม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
5. การประเมินผลกระทบ ที่มีต่อโครงการส่งเสริมวินัยนักเรียน เพื่อพัฒนาสู่การเป็นคนดี ของสังคม พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบที่มีต่อโครงการส่งเสริมวินัยนักเรียน เพื่อพัฒนาสู่การเป็นคนดีของสังคม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด