E-Book โปรแกรม Desktop Author
(E - Book) และการใช้โปรแกรม Desktop Author กลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะ
ผู้วิจัย นายวัตน์ชัย เติมกล้า
โรงเรียน โรงเรียนหนองเหล็กเบญจวิทยา ต.กระออม อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์
ปีที่พิมพ์ 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ด้วยโปรแกรม Desktop Author กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะที่พัฒนาขึ้นมาประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 3) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ด้วยโปรแกรม Desktop Author ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ 4) ศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560โรงเรียนหนองเหล็กเบญจวิทยา จำนวน 24 คน ได้มาโดยการเลือกสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ด้วยโปรแกรม Desktop Author โดยใช้แบบฝึกทักษะ จำนวน 8 แผน แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้จำนวน 40 ข้อ ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 ค่า IOC ระหว่าง 0.60 - 1.00 ค่าความยากง่าย (P) ระหว่าง 0.20 - 0.80 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไปและแบบที่วัดค่าความพึงพอใจมีค่า IOC ระหว่าง 0.80 - 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยตนเองโดยใช้เครื่องคิดเลข สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบความแตกต่างผลการเรียนรู้ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วย t - test (Dependent)
สรุปได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น พบว่า แบบฝึกทักษะนั้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 93.07/92.07 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2. แบบฝึกทักษะมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6314 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 63.14
3. ผลการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61