ขอเผยแพร่ผลงาน
ขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้รายงาน นางวราพร ม่วงไหมทอง
ตำแหน่ง/สังกัด ครูชำนาญการ โรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์) สังกัดเทศบาล เมืองเพชรบุรี
ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก(รัตนกะลัสอนุสรณ์) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557
จำนวน24 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบท้ายแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย(X ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ค่าความยากง่าย(p) ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (α) ทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา
สรุปผลการศึกษา
1. แบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก (รัตนกะลัสอนุสรณ์) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.92/82.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3โรงเรียนเทศบาล 1 วัดแก่นเหล็ก
(รัตนกะลัสอนุสรณ์) ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3/3 มีความพึงพอใจในระดับมาก ( X = 4.50 , S.D. = 0.49)