เผยแพร่ผลงาน พัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักเรียนม.5 รร.พิบูลอุปถัมภ์
โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ โดยใช้แบบฝึกแบบสถานี
ชื่อผู้ศึกษาค้น : นายกัมพล ศุภผล
ปีการศึกษา : 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ โดยใช้แบบฝึกแบบสถานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลด้านสมรรถภาพทางกายของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ ปีการศึกษา 2560 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกแบบสถานี 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการได้รับการจัด การเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกแบบสถานี เรื่อง สมรรถภาพทางกาย สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชายและนักเรียนหญิง ระดับ มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 73 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชายและนักเรียนหญิง ระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 34 คน ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ 1) แบบฝึกแบบสถานี จำนวน 8 สถานี ได้แก่ 1.1) ลุก-นั่ง 30 วินาที 1.2) ยืนเขย่งท้า 1.3) ดึงข้อและงอแขนห้อยตัว 1.4) วิ่งเก็บของ 1.5) ยืนกระโดดไกล 1.6) วิ่ง 50 เมตร 1.7) งอตัวด้านหน้า 1.8) วิ่งระยะ 1,000 ม. 2. แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย จำนวน 7 รายการ 2.1) งอตัวข้างหน้า 2.2) วิ่งเก็บของ 2.3) ลุก-นั่ง 30 วินาที 2.4) วิ่งเร็ว 50 เมตร 2.5 ยืนกระโดดไกล 2.6 ดึงข้อและงอแขนห้อยตัว 2.7 วิ่งทางไกล 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมรรถภาพทางกายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 20 ข้อ
ผลการศึกษาพบว่า
การศึกษาข้อมูลด้านสมรรถภาพทางกายของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ ปีการศึกษา 2560 ด้านการงอตัว พบว่า นักเรียนหญิงมีสมรรถภาพด้านการงอตัวข้างหน้า อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อย 38.24 และนักเรียนชายสมรรถภาพด้านการงอตัวข้างหน้า อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อย 20.59 ในภาพรวมพบว่านักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีสมรรถภาพทางกาย ด้านการงอตัว อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 58.82 ด้านการวิ่งเก็บของพบว่านักเรียนหญิงมีสมรรถภาพด้านวิ่งเก็บของ อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อย 38.24 และนักเรียนชายสมรรถภาพด้านการงอตัวข้างหน้า อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อย 29.41 ในภาพรวมพบว่านักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีสมรรถภาพทางกาย ด้านการวิ่งเก็บของ อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 67.65 ด้านการลุก – นั่ง พบว่านักเรียนชายมีสมรรถภาพด้านการลุก – นั่ง อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อย 38.24 และนักเรียนหญิงสมรรถภาพด้านการงอตัวข้างหน้า อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อย 20.59 ในภาพรวมพบว่านักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีสมรรถภาพทางกาย ด้านการลุก – นั่ง อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 58.82 ด้านการวิ่ง 50 เมตร พบว่านักเรียนชายมีสมรรถภาพด้านการวิ่ง 50 เมตร อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อย 35.29 และนักเรียนหญิงสมรรถภาพด้านการงอตัวข้างหน้า อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อย 32.35 ในภาพรวมพบว่านักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีสมรรถภาพทางกาย ด้านการวิ่ง 50 เมตร อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 67.65 ด้านการยืนกระโดดไกล พบว่า นักเรียนหญิงมีสมรรถภาพด้านการยืนกระโดดไกล อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อย 35.29 และนักเรียนชายสมรรถภาพด้านการงอตัวข้างหน้า อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อย 5.88 ในภาพรวมพบว่านักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีสมรรถภาพทางกาย ด้านยืนกระโดดไกล อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 41.18 ด้านการดึงข้อราวเดี่ยว พบว่า นักเรียนหญิงมีสมรรถภาพด้านการดึงข้อราวเดี่ยว อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อย 47.06 และนักเรียนชายสมรรถภาพด้านการดึงข้อราวเดี่ยว อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อย 38.24 ในภาพรวมพบว่านักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีสมรรถภาพทางกาย ด้านการดึงข้อราวเดี่ยว อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 85.29 ด้านการงอตัวข้างหน้า พบว่า นักเรียนหญิงมีสมรรถภาพด้านการงอตัวข้างหน้า อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อย 38.24 และนักเรียนชายสมรรถภาพด้านการงอตัวข้างหน้า อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อย 20.59 ในภาพรวมพบว่านักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีสมรรถภาพทางกาย ด้านการงอตัว อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 58.82
2. การเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษาของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกแบบสถานี เรื่อง สมรรถภาพทางกาย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังการเรียนด้วยแบบฝึกแบบสถานี มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 16.94 (¯X =16.94) สูงกว่าก่อนเรียนด้วยแบบฝึกแบบสถานีที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.74 (¯X = 6.76 ) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกแบบสถานีสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดวงว่าการสอนโดยใช้แบบฝึกแบบสถานี ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น