เผยแพร่ผลงานวิชาการ คศ.4 ของนางสาววรญา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
เสริมประสบการณ์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สาระที่ 1
สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย: นางสาววรญา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ที่ทำงาน: โรงเรียนเทศบาลวัดศรีทวี อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีที่วิจัย: 2559
บทคัดย่อ
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับหนังสือการ์ตูนเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง โรงเรียนเทศบาลวัดศรีทวี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ผู้วิจัยได้สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ตามลำดับดังนี้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1)เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของครู นักเรียน และผู้ปกครองในการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ (ว 14101) สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดศรีทวี ปีการศึกษา 2557-2558 2)เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับหนังสือการ์ตูนเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 3)เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับหนังสือการ์ตูนเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4)เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับหนังสือการ์ตูนเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเทศบาลวัดศรีทวี อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้อง จำนวน 25 คนได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ 4 ชนิด ดังนี้ (1)แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบการใช้หนังสือการ์ตูนเสริมประสบการณ์ จำนวน 10 แผน จำนวน 15 ชั่วโมง (2)หนังสือการ์ตูนเสริมประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 4 เล่ม (3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 ข้อ จำนวน 1 ชุด มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.37 ถึง 0.77 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.80 และมีค่าความเชื่อมั่น rKR-20 เท่ากับ 0.73 (4)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หนังสือการ์ตูนเสริมประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 ข้อ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค () เท่ากับ 0.802 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ() ค่าเฉลี่ย () และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ()
ปรากฏผลการวิจัย ดังนี้
1.สภาพปัญหาและความต้องการของครู นักเรียน และผู้ปกครองในการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ (ว 14101) สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดศรีทวี ปีการศึกษา 2557-2558 พบว่า ปัญหาในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดศรีทวี อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ในส่วนเนื้อหามีการกำหนดให้สถานศึกษาและครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ในสาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต เพราะเป็นเรื่องสำคัญ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผู้วิจัยได้ทำงานทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดศรีทวี พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในปีการศึกษา 2557 และ 2558 ต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 65 เพราะเรียนเรื่องนี้ไม่เข้าใจและเป็นเนื้อหาที่ยากทำให้เกิดปัญหาต่อการเรียนของผู้เรียน ทั้งนี้เป็นเพราะการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่ผ่านมาส่วนมากแล้วครูผู้สอนมักจะใช้วิธีการสอน แบบบรรยาย อธิบายความรู้ต่างๆ ให้นักเรียนฟังไม่มีสื่อการเรียนการสอนที่ชัดเจน และความต้องงการของครู นักเรียน และผู้ปกครอง พบว่า ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มากกว่าร้อยละ 80 ต้องการให้มีการจัดทำสื่อการเรียนสอนแบบใหม่ให้เหมาะสมกับนักเรียนในความรับชอบ และนักเรียนมากกว่าร้อยละ 65 ต้องการให้ครูจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสือการ์ตูนเสริมประสบการณ์ เพราะมีรูปการ์ตูนช่วยให้ความสนใจกับตนเอง สุดท้ายผู้ปกครองมากร้อย 95 ต้องให้เด็กนักเรียนได้รับการพัฒนาความสามารถด้านการแก้ปัญหาในชีวิต
2.ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับหนังสือการ์ตูนเสริมประสบการณ์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 90.60/88.13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่ตั้งไว้ 80/80
3.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของกลุ่มตัวอย่าง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยหนังสือการ์ตูนเสริมประสบการณ์ คิดเป็นร้อยละ 47.05
4.ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับหนังสือการ์ตูนเสริมประสบการณ์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5.ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับหนังสือการ์ตูนเสริมประสบการณ์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar=4.18, SD.=0.80)