LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

usericon

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
    โดยใช้วิธีสอนแบบแผนภาพลำดับเหตุการณ์กับวิธีสอนแบบ KWL-Plus
    เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสรุปความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย        นางนภสร เกษมธรรมแสวง                
โรงเรียน    โรงเรียนเทศบาล 3 (ปรางค์xxx่วิทยาคาร) กองการศึกษา เทศบาลเมืองชัยภูมิ
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่วิจัย        2560
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

        การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้วิธีสอนแบบแผนภาพลำดับเหตุการณ์กับวิธีสอนแบบ KWL-Plus เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสรุปความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นการวิจัยตามแนวคิด ของ โจนส์ และคณะ (Jones et al, 1989) คล้าก (Clarke, 1991) และจอยส์ และคณะ (Joyce et al, 1992) ซึ่งได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟฟิกขึ้น และ Ogle (1986) พัฒนารูปแบบการสอนประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ Know-Want-Learn (KWL) โดยผู้วิจัยได้นำมาประยุกต์ร่วมกับการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ (1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (2) เพื่อพัฒนาและหาค่าประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้วิธีสอนแบบแผนภาพลำดับเหตุการณ์กับวิธีสอนแบบ KWL-Plus เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสรุปความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพที่ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป (3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสรุปความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังจากที่ได้รับการเรียน ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบแผนภาพลำดับเหตุการณ์กับวิธีสอนแบบ KWL-Plus และ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบแผนภาพลำดับเหตุการณ์กับวิธีสอนแบบ KWL-Plus เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสรุปความ เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย คือ การเขียนสรุปความภาษาไทยโดยใช้นิทานเป็นสื่อในการทดลอง ซึ่งนิทานแต่ละเรื่องมีเนื้อหาในเชิงสร้างสรรค์ จรรโลงใจ มีแง่คิดด้านคุณธรรมจริยธรรม เหมาะสมกับวัย จำนวน 12 เรื่อง ได้แก่ เรื่อง นกกระจาบแตกสามัคคี เนื้อกวางของนายพราน สัตว์เกียจคร้าน ขุดหาน้ำกลางทะเลทราย ม้าศึกกับทหารม้า คางคกเจ้าปัญญา เพื่อนตาย พญาเนื้อทอง พญาช้างเผือก ผู้กตัญญู เมืองหนู และนิทานไม่รู้จบ ซึ่งในการสอนทั้ง 2 วิธี ประกอบด้วย 12 แผนการจัดการเรียนรู้ ใช้เวลา 12 ชั่วโมง รวมทั้งสองวิธี เป็น 24 ชั่วโมง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 32 คน แบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 16 คน นักเรียนกลุ่มที่ 1 ทดลองโดยใช้วิธีสอนแบบแผนภาพลำดับเหตุการณ์ และกลุ่มที่ 2 ทดลองโดยใช้วิธีสอนแบบ KWL-Plus โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) ได้แก่ รูปแบบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้วิธีสอนแบบแผนภาพลำดับเหตุการณ์กับวิธีสอนแบบ KWL-Plus เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสรุปความ ตัวแปรตาม (Dependent Variables) ได้แก่ ความสามารถในการเขียนสรุปความ และความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ประเภท ประเภทแรก คือ เครื่องมือจัดกระทำ ได้แก่ รูปแบบการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบแผนภาพลำดับเหตุการณ์กับวิธีสอนแบบ KWL-Plus เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสรุปความ และแผนการจัดการเรียนรู้ ประเภทที่สอง คือ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนสรุปความ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ สำหรับสถิติวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทีแบบไม่อิสระ (t-test Independent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
            ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น เป็นวิธีสอนแบบแผนภาพลำดับเหตุการณ์กับวิธีสอนแบบ KWL-Plus เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสรุปความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งเป็นการวิจัยตามแนวคิด ของ โจนส์ และคณะ (Jones et al, 1989) คล้าก (Clarke, 1991) และจอยส์ และคณะ (Joyce et al, 1992) ซึ่งได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟฟิกขึ้น และOgle (1986) ที่ได้พัฒนารูปแบบการสอน KWL-Plus ขึ้นประกอบด้วยจำนวน 3 ขั้นตอน คือ Know-Want-Learn (KWL) และนำมาประยุกต์ร่วมกับการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ซึ่งวิธีสอนแบบแผนภาพลำดับเหตุการณ์ เป็นการสอนที่ทำให้นักเรียนเกิดทักษะการคิด โดยใช้ผังแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ เรียงลำดับข้อมูลโดยสัมพันธ์กันในลักษณะต่างๆ แผนภาพลำดับเหตุการณ์นี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการสอนโดยใช้กรอบมโนทัศน์ หรือผังกราฟฟิก ส่วนวิธีสอนแบบ KWL-Plus เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการอ่าน โดยผู้เรียนจะได้รับการฝึกให้ตระหนักในกระบวนการทำความเข้าใจตนเอง มีการวางแผน ตั้งจุดมุ่งหมาย ตรวจสอบความเข้าใจของตนเอง มีการจัดระบบข้อมูล เพื่อการดึงมาใช้ภายหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้มีการเพิ่มเติมหลังจากผู้เรียนได้เรียนรู้และเขียนข้อมูล แล้วยังนำข้อมูลมาเขียนสรุปในขั้นตอนสุดท้าย หรือจัดระบบข้อมูลใหม่เพื่อให้ผังความคิดมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เป็นการเขียนสรุปและนำเสนอข้อมูลด้วยตนเอง และเมื่อตรวจสอบโดยใช้แบบประเมินค่าดัชนีความสอดคล้อง ทั้งแบบวิเคราะห์เอกสาร และแบบสัมภาษณ์ จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน พบว่า มีความสอดคล้อง โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 1.00 ทุกรายการ และเมื่อประเมินรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการเรียนรู้ มีความเหมาะสมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.41, 4.46) และเมื่อนำไปหาประสิทธิภาพ (E1/E2) แบบกลุ่มใหญ่หรือแบบภาคสนาม กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนเทศบาล 3 (ปรางค์xxx่วิทยาคาร) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ที่เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน พบว่า ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบแผนภาพลำดับเหตุการณ์และวิธีสอนแบบ KWL-Plus เท่ากับ 81.93/81.17 และ 84.13/82.17 ตามลำดับ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 ซึ่งเป็นการยอมรับสมมุติฐานการวิจัยข้อที่ 1
2. รูปแบบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้วิธีสอนแบบแผนภาพลำดับเหตุการณ์กับวิธีสอนแบบ KWL-Plus เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสรุปความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.59/84.64 และ 85.03/83.45 ตามลำดับ และมีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากัน คือ 0.68 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ความสามารถในการเขียนสรุปความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังจากที่ได้รับการเรียน ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบแผนภาพลำดับเหตุการณ์กับวิธีสอนแบบ KWL-Plus หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบแผนภาพลำดับเหตุการณ์กับวิธีสอนแบบ KWL-Plus เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนสรุปความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.38
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^