หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด วรรณกรรมท้องถิ่น : ถิ่นนี้ที่สาคร
ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด วรรณกรรมท้องถิ่น เรื่อง ถิ่นนี้ ที่...สาคร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชื่อผู้รายงาน นางสาวพรนิภา ชำนาญศิลป์
ปีการศึกษา 2561
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด วรรณกรรมท้องถิ่น เรื่อง ถิ่นนี้ ที่...สาคร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด วรรณกรรมท้องถิ่น เรื่อง ถิ่นนี้ ที่...สาคร 3) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด วรรณกรรมท้องถิ่น เรื่อง ถิ่นนี้ ที่...สาคร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด วรรณกรรมท้องถิ่น เรื่อง ถิ่นนี้ ที่...สาคร
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาลศรีบุณยานุสสรณ์ สังกัดเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 36 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากนักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 มีนักเรียนที่เก่ง ปานกลาง และอ่อนคละกัน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด วรรณกรรมท้องถิ่น เรื่อง ถิ่นนี้ ที่...สาคร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 5 เล่ม คือ เล่มที่ 1 ลำเนา..เราสาคร เล่มที่ 2 นคร..แห่งตำนาน เล่มที่ 3 ไขขาน..ปริศนา เล่มที่ 4 หรรษา..เพลินเพลง เล่มที่ 5 ครื้นเครง..นิทาน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ของหนังสื่ออ่าเพิ่มเติม ชุด วรรณกรรมท้องถิ่น เรื่อง ถิ่นนี้ ที่...สาคร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 18 แผน เวลาเรียน 18 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน–หลังเรียนของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด วรรณกรรมท้องถิ่น เรื่อง ถิ่นนี้ ที่...สาคร เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด วรรณกรรมท้องถิ่น เรื่อง ถิ่นนี้ ที่...สาคร 5) แบบแผนที่ใช้ในการทดลองเป็นแบบ (One Group Pretest Posttest Designs) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า t–test แบบ (Dependent Sample)
ผลการศึกษาพบว่า
1. หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด วรรณกรรมท้องถิ่น เรื่อง ถิ่นนี้ ที่...สาคร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 93.49/91.04 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลศรีบุณยานุสสรณ์ เทศบาลเมืองกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ที่เรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ชุด วรรณกรรมท้องถิ่น เรื่อง ถิ่นนี้ ที่...สาคร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด วรรณกรรมท้องถิ่น เรื่อง ถิ่นนี้ ที่...สาคร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีค่าเท่ากับ .8151 มีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 81.51
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลศรีบุณยานุสสรณ์ สังกัดเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ที่มีต่อการเรียน โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด วรรณกรรมท้องถิ่น เรื่อง ถิ่นนี้ ที่...สาคร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่าอยู่ในระดับที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ค่าเฉลี่ย = 4.83