การพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้
หัวข้องานวิจัย การพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ผู้วิจัย นายศึก ลูกอินทร์
หน่วยงานที่รับผิดชอบ โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการ
การพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 65 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครูผู้สอนโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม จำนวน 65 คน 2) กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ครูผู้สอนที่เป็นกลุ่มผู้ร่วมวิจัยโรงเรียนไพรบึงวิยาคม จำนวน 60 คน 3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 65 คน ประกอบด้วย 1) ครูพี่เลี้ยงที่ร่วมกำกับ ติดตาม ให้คำปรึกษา และนิเทศในการดำเนินการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 5 คน 2) กลุ่มครูผู้ร่วมวิจัย จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต ประเด็นสนทนากลุ่ม และแบบสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า Wilcoxon Signed Ranks Test และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการ การพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ต้องปรับวิธีการเรียนเปลี่ยนบทบาทและวิธีสอน สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ และการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้แบบแบบโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา แต่ครูโรงเรียนไพรบึงวิทยาคมยังขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามที่กล่าวมาข้างต้น จึงมีความต้องการรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา
2. รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ มีชื่อว่า ซีทีเออีเอเอ (CTAEAA Model) ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ของครู มีผลการตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ และความสอดคล้องของรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่ามีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80-1.00
3. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า การฝึกอบรมส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา อยู่ในระดับมากที่สุด ครูพี่เลี้ยงและครูผู้รับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา มีคะแนนสูงกว่า ก่อนการใช้รูปแบบพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา และครูผู้รับการอบรมมีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา ของครู อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา นักเรียนทุกระดับชั้น มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา