รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษ ว.พ.
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
จังหวัดมหาสารคาม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ผู้วิจัย นางสาวกุสุมา ตะวัน
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
จังหวัดมหาสารคาม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีที่พิมพ์ 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 70/70 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนการใช้และหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (4) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคามจำนวน 26 คน ซึ่งได้มาการโดยสุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลากโดยมีหน่วยสุ่มเป็นห้องเรียน (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 4 ชนิด ได้แก่แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 เล่ม ที่มีความเหมาะสมมาก ( ) 4.37 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นปรนัยชนิดเลือกตอบแบบ 4 ตัวเลือก ที่มีค่าความยาก (P) ระหว่าง 0.23-0.51 ค่าอำนาจจำแนก ( B ) ระหว่าง 0.23 ถึง 0.58 จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น ( rcc) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 1.80-3.92 และความเชื่อมั่นรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ (1) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 84.86/ 82.39 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 70/70 ที่ตั้งไว้ (2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ดัชนีประสิทธิผลทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.7099 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้หลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.99 ซึ่งสูงกว่าร้อยละ 50 ตั้งไว้ (4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.59)