LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

รายงานผลการใช้สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย

usericon

ชื่อเรื่อง        รายงานผลการใช้สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายที่ส่งเสริมความสามารถ
ในการแก้ปัญหา รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้ศึกษา        นางสาวปิยพร พรหมมาวัย ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ปีที่ศึกษา     2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา (Problem Solving) 2) เพื่อศึกษาการแก้ปัญหาของผู้เรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สิ่งแวดล้อมบนเครือข่าย กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนนางิ้ววิทยาสรรค์ สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จำนวน 39 คน ใช้รูปแบบการวิจัยก่อนการทดลอง (Pre-Experimental Design) แบบกลุ่มเดียวทดสอบหลังเรียน (One Shot Case Study) โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ความสามารถในการแก้ปัญหาของผู้เรียน แบบทดสอบหลังเรียนเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสำรวจความคิดเห็นของผู้เรียน ซึ่งได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสรุปตีความ ผลการวิจัยพบว่า
1. การออกแบบและพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของผู้เรียน ออกแบบโดยใช้แนวคิดและหลักการที่สำคัญ ของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์มาใช้เป็นพื้นฐานในการออกแบบผสานร่วมกับคุณลักษณะของสื่อบนเครือข่าย ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ 1) สถานการณ์ปัญหา (Problem Base) 2) ธนาคารความรู้ (Data Bank) 3) ศูนย์ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา(Problem Solving) 4) ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง (Links) 5) การร่วมมือกันแก้ปัญหา (Collaborative Learning) 6) ฐานความช่วยเหลือ (Scaffolding) ได้แก่ ฐานความช่วยเหลือด้านความคิดรวบยอด (Conceptual Scaffolding) ฐานความช่วยเหลือด้านความคิด (Metacognitive Scaffolding) ฐานความช่วยเหลือด้านกลยุทธ์ (Strategic Scaffolding) และฐานความช่วยเหลือด้านกระบวนการ (Procedural Scaffolding) 7) ปรึกษาครู (Coaching)
2. ความสามารถในการการแก้ปัญหาของผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหา ผู้เรียนรู้สามารถกำหนดว่าปัญหาคืออะไร และ ระบุถึงข้อมูลที่จำเป็นในการแก้ปัญหา คิดแหล่งที่มาเป็นไปได้ทั้งหมด ในการที่จะหาข้อมูล ที่จำเป็นในการแก้ปัญหา และเลือกแหล่งที่ดีที่สุด ค้นหาแหล่งที่มา ค้นหาข้อมูลภายในแหล่งที่มา ดูความเกี่ยวข้องและแล้วดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาใช้ จัดระเบียบและแสดงผลของข้อมูลที่พยายามแก้ปัญหา และ ประเมินกระบวนการในการแก้ปัญหาว่าแก้ได้จริงเพียงใด
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย มีค่าคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 89.74 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
4. ความคิดเห็นของผู้เรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย ความคิดเห็นของผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน พบว่า 1) ด้านเนื้อหา ผู้เรียนมีความคิดเห็นว่า มีการใช้ภาษาที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ผู้เรียนสามารถนำมาประกอบในการแก้ปัญหาและสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 2) ด้านสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ ผู้เรียนมีความคิดเห็นว่า ช่วยสนับสนุนการสร้างความรู้ของผู้เรียน โดยผู้เรียนได้ลงมือกระทำในการแก้ปัญหา และส่งเสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือ และ 3) ด้านการส่งเสริมการแก้ปัญหา ผู้เรียนมีความคิดเห็นว่า สถานการณ์ปัญหา ธนาคารความรู้ ศูนย์ส่งเสริมการแก้ปัญหา และฐานความช่วยเหลือ ช่วยสนับสนุนให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาได้

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^