การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อการเห็นคุณค่าในตนเอง
ปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานี
ผู้วิจัย นางสุจิตรา ไชยธงรัตน์.
สถานศึกษา โรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานี เทศบาลนครอุดรธานี
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพปัญหาในการจัดกิจกรรมแนะแนวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบกิจกรรมแนะแนวเพื่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมแนะแนวเพื่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อการเห็นคุณค่าในตนเอง แหล่งข้อมูลที่ใช้ มีรายละเอียดดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 แหล่งข้อมูลที่ใช้ ได้แก่ ครูผู้สอนวิชากิจกรรมแนะแนว ในโรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานี จำนวน 5 คน และ ผู้ปกครองนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ขั้นตอนที่ 2 แหล่งข้อมูลที่ใช้ ได้แก่ เอกสารงานวิจัย ตำรา ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อการเห็นคุณค่าในตนเอง เอกสารหลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 3 คน สำหรับการทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพแบบเดียว (1:1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 9 คน สำหรับการทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพแบบกลุ่มเล็ก (1:10) และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 คน สำหรับการทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพภาคสนาม (1:100) ขั้นตอนที่ 3 แหล่งข้อมูล ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 คน ขั้นตอนที่ 4 แหล่งข้อมูล ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ขั้นตอนที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และขั้นตอนที่ 4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D ,ค่าร้อยละ และ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. จากผลการศึกษาสภาพปัญหาในด้านการจัดการเรียนการสอนวิชาแนะแนวในโรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานี พบว่า ครูและผู้ปกครอง มีความคาดหวังให้ครูผู้สอนวิชาแนะแนวสามารถสอนให้นักเรียนเกิดทักษะชีวิต มีสมาธิ สติในการใช้ชีวิตประจำวันและต้องการให้ครูผู้สอนเพิ่มเติมกิจกรรมที่สามารถพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง เนื่องจากผู้ปกครองบางท่านได้สังเกตพฤติกรรมของบุตรหลานตนเอง พบว่า มีพฤติกรรมที่ค่อนข้างไม่พึงประสงค์ เช่น ปัญหาชู้สาว ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ไม่เรียนหนังสือ ติดโทรศัพท์ ติดเพื่อน ติดเกม ติดการพนัน ปัญหาการปรับตัว ไม่มีความมั่นใจในตนเอง ปัญหายาเสพติด ซึ่งอาจส่งผลให้นักเรียนมีปัญหาในด้านการเรียน นอกจากนั้นครูผู้สอนและผู้ปกครองมีความต้องการให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีสื่อ อุปกรณ์ที่ทันสมัยหลากหลายมีความน่าสนใจ บรรยากาศในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีต้องการให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น กล้าแสดงออกได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังพบว่า ครูผู้สอนมีความต้องการแผนการจัดกิจกรรมแนะแนวที่สามารถแก้ปัญหาพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้นของผู้เรียน เนื่องจากในปัจจุบันแผนการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาหรือแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนยังไม่มีความชัดเจน แหล่งเรียนรู้ สื่ออุปกรณ์ต่างๆ ไม่มีความทันสมัย การจัดการเรียนการสอนยังยึดครูเป็นศูนย์กลาง
2. รูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อการเห็นเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า รูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนว “CPLA Model” มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดกิจกรรม 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นสำรวมจิต (C - Concentrate) 2) ขั้นการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ (P – Participation) 3) ขั้นสะท้อนกลับการเรียนรู้ (L– Learning Reflecting) 4) ขั้นประยุกต์ใช้ (A - Applying) มีค่าประสิทธิภาพระหว่างเรียน E1 เท่ากับ 80.99 และมีค่าประสิทธิภาพหลังเรียน E2 เท่ากับ 81.13 หรือมีค่าเท่ากับ 80.99/81.13 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า
3.1 แผนการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 จำนวน 30 คน มีค่าประสิทธิภาพระหว่างเรียน E1 เท่ากับ 87.33 และมีค่าประสิทธิภาพหลังเรียน E2 เท่ากับ 82.67 หรือมีค่าเท่ากับ 87.33/82.67 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3.2 ผลการเปรียบเทียบการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมก่อน
เรียนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยการเห็นคุณค่าในตนเอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรม
แนะแนวเพื่อการเห็นคุณค่าในตนเอง โดยรวมพบว่า นักเรียนมีระดับความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อการเห็นคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับมาก