ผลการใช้แบบฝึกคณิตศาสตร์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชื่อรายงาน : ผลการใช้แบบฝึกคณิตศาสตร์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง
การบวกการลบที่มีผลลัพธ์ไม่เกิน 20 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 1 ศรีเกิด สำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงราย
ชื่อผู้รายงาน : นางเฉลิมศรี โอฬารสมบัติ
ตำแหน่ง : ครู คศ. 2
สาระ : กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ปีการศึกษา : 2560
สถานศึกษา : โรงเรียนเทศบาล 1 ศรีเกิด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย สำนักการศึกษา
สังกัดเทศบาลนครเชียงราย กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
กระทรวงมหาดไทย
การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การบวกการลบที่มีผลลัพธ์ไม่เกิน 20 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนกับหลังจากการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การบวกการลบที่มีผลลัพธ์ไม่เกิน 20 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาล 1 ศรีเกิด สำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงราย ที่เรียนโดยการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การบวกการลบที่มีผลลัพธ์ไม่เกิน 20 โดยผู้ศึกษาได้นำแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การบวกการลบ ที่มีผลลัพธ์ไม่เกิน 20 ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาล 1 ศรีเกิด เทศบาลนครเชียงราย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง การบวกการลบที่มีผลลัพธ์ไม่เกิน 20 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 เล่ม แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การบวกการลบที่มีผลลัพธ์ไม่เกิน 20 เป็นแบบปรนัยจำนวน 20 ข้อ 20 คะแนน มีค่าความเชื่อมั่น 0.904
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะการบวกการลบที่มีผลลัพธ์ไม่เกิน 20 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั้ง 6 เล่ม มีประสิทธิภาพเฉลี่ยเท่ากับ 86.79/87.91ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1โรงเรียนเทศบาล 1 ศรีเกิด เทศบาลนครเชียงราย ที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การบวกการลบที่มีผลลัพธ์ไม่เกิน 20 มีค่าเฉลี่ยร้อยละหลังเรียน เท่ากับ 90.14 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเรียน ที่มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 36.57 โดยมีค่าความต่าง เท่ากับร้อยละ 53.57