การพัฒนากระบวนการสอนคณิตศาสตร์แบบ R-A-D-T-R-C เพื่อพัฒนาทักษะ
ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนส่วนใหญ่ยังไม่พึงพอใจในผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ของตนเอง นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เพราะเป็นวิชาที่ยาก น่าเบื่อ มีการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อน ทำให้ไม่อยากเรียน ไม่อยากคิดคำนวณ และเนื้อหาวิชาที่นักเรียนคิดว่ายากที่สุดในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ทำให้ไม่อยากเรียน คือ การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง แก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณหารระคนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่โรงเรียนกำหนดไว้ นักเรียนส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นว่าครูควรจัดกระบวนการเรียนการสอน การแก้โจทย์ปัญหาที่แปลกใหม่ น่าสนใจ นักเรียนสามารถจดจำขั้นตอนได้ง่าย และนักเรียน ส่วนใหญ่ยังแสดงความคิดเห็นว่าต้องการให้ครูจัดกระบวนการสอนการแก้โจทย์ปัญหา โดยมีกระบวนการแก้โจทย์ปัญหา ดังนี้ อ่านทำความเข้าใจโจทย์ วิเคราะห์ วางแผน วาดรูปบาร์โมเดล ลงมือคิดคำนวณ ความสมเหตุสมผล และตรวจคำตอบ 2) กระบวนการสอนคณิตศาสตร์ แบบ R-A-D-T-R-C เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 92.96/95.16 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้กระบวนการสอนคณิตศาสตร์ แบบ R-A-D-T-R-C เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 19 แผน รวม 19 ชั่วโมง มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.95 แสดงว่า นักเรียนมีความรู้หลังเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 95 และเมื่อตรวจสอบความแตกต่างของคะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยสถิติ t-test พบค่า t=53.57 มีระดับนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงกล่าวได้ว่ากระบวนการสอนคณิตศาสตร์ แบบ R-A-D-T-R-C เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นกว่า ก่อนเรียน 4) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสอนคณิตศาสตร์ แบบ R-A-D-T-R-C เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า โดยภาพรวมนักเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.95 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.12